สภาพปัญหาขยะล้นเมืองเป็นปัญหาของคนทุกคน เพราะทุกวันนี้ประชาชนทุกคนต่างก็ทิ้งขยะกันทุกวัน โดยเฉพาะขยะที่ไม่สามารถที่จะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นโฟม ถุงพลาสติก และสิ่งของอื่น ๆ ทำให้มีขยะเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว หากปล่อยทิ้งไว้แบบนี้ ก็จะเกิดปัญหาเรื่องแหล่งที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ และทำให้เกิดภาวะโลกร้อนตามมาได้ ล่าสุดนายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงได้เตรียมพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ให้ก้าวเข้าสู่ช่วงการฟื้นฟูบ้านเมือง และการงดใช้ขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งให้เห็นเป็นแบบอย่างด้วยการงดการใช้โฟมบรรจุอาหาร
นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรณรงค์เพื่อให้คนเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยว หันมารักเมืองเชียงใหม่ให้มากขึ้น งดการใช้วัสดุที่เป็นอันตราย และทำลายธรรมชาติ ให้หันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตร และเข้ากับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของคนล้านนา ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการ “ถนนคนเดินเชียงใหม่ โนโฟม” นี้ขึ้นมา อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากโครงการฟื้นบ้าน ย่านเวียงเชียงใหม่ และกลุ่มโนโฟม พร้อมด้วยกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าในย่านถนนคนเดิน ซึ่งได้มีความเห็นว่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไม่ทำลายธรรมชาติ ก็จะเปลี่ยนจากการใช้โฟมเป็นภาชนะใส่อาหาร มาเป็นภาชนะที่ทำจากใบตอง กระดาษ หรือชานอ้อย ที่เป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติแทน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มจุดขายให้กับพ่อค้า แม่ค้าด้วย เพราะว่าวัสดุธรรมชาติ จะเข้ากับถนนคนเดิน และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้โครงการ “โนโฟม” นี้ที่จริงได้เริ่มมีการดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยเริ่มต้นเป็นจุดแรกที่วัดพันอ้น อ.เมืองเชียงใหม่ โดยภายในวัดจะมีถังขยะที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ขยะชิ้นไหน ต้องทิ้งถังขยะใบไหน และในวัดก็ห้ามมีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตร ห้ามมีการใช้โฟม โดยให้พ่อค้าแม่ค้า ที่จะเข้าไปจำหน่ายในวัด ต้องใช้วัสดุจำพวกใบตอง ชานอ้อย และตะเกียบไม้ กระบอกไม้ไผ่ ที่ใช้ใส่น้ำแทนเท่านั้น ซึ่งพ่อค้า แม่ค้า ที่เข้าไปตั้งร้านจำหน่ายภายในวัด ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเห็นสมควรว่า หากวัดพันอ้น ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ตั้งอยู่บนถนนคนเดิน สามารถทำได้ ก็น่าจะมีการต่อยอดในด้านการส่งเสริมเรื่องงดการใช้โฟม บนถนนคนเดินทั้งหมดด้วย เพราะหากดูคนในสมัยก่อน เขายังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก เป็นโฟม ออกมา เขาก็ยังอยู่ได้ พกพาอาหาร หรือใส่อาหารเดินทางไปไหนต่อไหนได้ ดังนั้นหากจะเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และลดภาวะโลกร้อน แล้วแก้ปัญหาขยะล้นเมืองเชียงใหม่แล้ว ถนนคนเดินเชียงใหม่ ก็น่าจะเป็นแบบอย่างอันดับแรกก่อน เมื่อทุกคนให้ความร่วมมือและพร้อมใจกันที่จะงดการใช้โฟม และวัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อธรรมชาติอย่างจริงจังแล้ว ก็จะทำให้บรรยากาศแบบล้านนา หรือบรรยากาศในอดีตกลับคืนมา
หากลองนึกภาพว่า ทุกคนเดินถือใบตอง กินอาหารแบบใช้ไม้ไผ่ แล้วเดินดูของบนถนนคนเดิน โดยไม่เห็นโฟม หรือวัสดุอื่นเลย จะเป็นภาพที่น่ามองและเป็นเอกลักษณ์ที่ดีมาก ทำให้เข้ากับบรรยากาศของเมืองล้านนาได้อย่างดี และเมื่อเป็นเช่นนั้นเสน่ห์แห่งเมืองล้านนาก็จะกลับคืนมา อีกทั้งนักท่องเที่ยวก็จะได้รู้จักกันว่า มาเดินถนนคนเดินเชียงใหม่แล้วได้บรรยากาศที่ดี เพราะไม่มีโฟม หรือวัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่ดีแต่เฉพาะการท่องเที่ยว แต่ดีทั้งตัวพ่อค้า แม่ค้าเองด้วย แล้วยังเป็นการดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวไปด้วยในตัว
เพราะทราบกันดีอยู่แล้วก็คือการใช้โฟม นั้นหากนำมาใส่ของร้อนหรือของที่มีความมัน ก็จะทำให้สารเคมีที่อยู่ในโฟมลงไปปะปนกับอาหาร ซึ่งผู้บริโภค ก็จะไม่ปลอดภัยด้วย ดังนั้น จึงได้มีการเปิดโครงการดังกล่าวขึ้น และทางกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ในย่านถนนคนเดินเชียงใหม่ ก็ให้ความสนใจในโครงการนี้ และพร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ก็ได้ขอเวลาประมาณ 1 เดือน ในการปรับปรุง เพราะบางร้าน ก็มีการซื้อโฟมมาจำนวนมาก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไป แต่มั่นใจว่าหลังจากระยะเวลา 1 เดือน บริเวณถนนคนเดินเชียงใหม่ จะไม่มีโฟมเป็นภาชนะให้เห็นอีก พร้อมกันนี้ก็มีจุดคัดแยกขยะเพื่อเตรียมพร้อมในการที่จะนำวัสดุที่เป็นใบตอง กระดาษ หรือชานอ้อย ไว้หลายแห่ง เพราะวัสดุเหล่านี้สามารถที่จะนำกลับไปรีไซเคิลได้
ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการเริ่มต้นที่จะช่วยลดโลกร้อน และทำให้ความเป็นอยู่ในด้านสุขภาพของประชาชน และนักท่องเที่ยวดีขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีที่เป็นอันตราย แล้วยังช่วยให้เมืองเชียงใหม่ สะอาด ปลอดขยะอีกด้วย.
นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ เปิดเผยว่า การรณรงค์เพื่อให้คนเชียงใหม่ และนักท่องเที่ยว หันมารักเมืองเชียงใหม่ให้มากขึ้น งดการใช้วัสดุที่เป็นอันตราย และทำลายธรรมชาติ ให้หันมาใช้วัสดุที่เป็นมิตร และเข้ากับสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมของคนล้านนา ดังนั้นจึงได้เกิดโครงการ “ถนนคนเดินเชียงใหม่ โนโฟม” นี้ขึ้นมา อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจากโครงการฟื้นบ้าน ย่านเวียงเชียงใหม่ และกลุ่มโนโฟม พร้อมด้วยกลุ่มพ่อค้า แม่ค้าในย่านถนนคนเดิน ซึ่งได้มีความเห็นว่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรม และส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไม่ทำลายธรรมชาติ ก็จะเปลี่ยนจากการใช้โฟมเป็นภาชนะใส่อาหาร มาเป็นภาชนะที่ทำจากใบตอง กระดาษ หรือชานอ้อย ที่เป็นวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติแทน นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มจุดขายให้กับพ่อค้า แม่ค้าด้วย เพราะว่าวัสดุธรรมชาติ จะเข้ากับถนนคนเดิน และวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้โครงการ “โนโฟม” นี้ที่จริงได้เริ่มมีการดำเนินการมาแล้วระยะหนึ่ง โดยเริ่มต้นเป็นจุดแรกที่วัดพันอ้น อ.เมืองเชียงใหม่ โดยภายในวัดจะมีถังขยะที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ขยะชิ้นไหน ต้องทิ้งถังขยะใบไหน และในวัดก็ห้ามมีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตร ห้ามมีการใช้โฟม โดยให้พ่อค้าแม่ค้า ที่จะเข้าไปจำหน่ายในวัด ต้องใช้วัสดุจำพวกใบตอง ชานอ้อย และตะเกียบไม้ กระบอกไม้ไผ่ ที่ใช้ใส่น้ำแทนเท่านั้น ซึ่งพ่อค้า แม่ค้า ที่เข้าไปตั้งร้านจำหน่ายภายในวัด ก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงเห็นสมควรว่า หากวัดพันอ้น ซึ่งเป็นจุดหนึ่งที่ตั้งอยู่บนถนนคนเดิน สามารถทำได้ ก็น่าจะมีการต่อยอดในด้านการส่งเสริมเรื่องงดการใช้โฟม บนถนนคนเดินทั้งหมดด้วย เพราะหากดูคนในสมัยก่อน เขายังไม่มีผลิตภัณฑ์ที่เป็นพลาสติก เป็นโฟม ออกมา เขาก็ยังอยู่ได้ พกพาอาหาร หรือใส่อาหารเดินทางไปไหนต่อไหนได้ ดังนั้นหากจะเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ และลดภาวะโลกร้อน แล้วแก้ปัญหาขยะล้นเมืองเชียงใหม่แล้ว ถนนคนเดินเชียงใหม่ ก็น่าจะเป็นแบบอย่างอันดับแรกก่อน เมื่อทุกคนให้ความร่วมมือและพร้อมใจกันที่จะงดการใช้โฟม และวัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อธรรมชาติอย่างจริงจังแล้ว ก็จะทำให้บรรยากาศแบบล้านนา หรือบรรยากาศในอดีตกลับคืนมา
หากลองนึกภาพว่า ทุกคนเดินถือใบตอง กินอาหารแบบใช้ไม้ไผ่ แล้วเดินดูของบนถนนคนเดิน โดยไม่เห็นโฟม หรือวัสดุอื่นเลย จะเป็นภาพที่น่ามองและเป็นเอกลักษณ์ที่ดีมาก ทำให้เข้ากับบรรยากาศของเมืองล้านนาได้อย่างดี และเมื่อเป็นเช่นนั้นเสน่ห์แห่งเมืองล้านนาก็จะกลับคืนมา อีกทั้งนักท่องเที่ยวก็จะได้รู้จักกันว่า มาเดินถนนคนเดินเชียงใหม่แล้วได้บรรยากาศที่ดี เพราะไม่มีโฟม หรือวัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อธรรมชาติ ซึ่งไม่ใช่ดีแต่เฉพาะการท่องเที่ยว แต่ดีทั้งตัวพ่อค้า แม่ค้าเองด้วย แล้วยังเป็นการดูแลสุขภาพนักท่องเที่ยวไปด้วยในตัว
เพราะทราบกันดีอยู่แล้วก็คือการใช้โฟม นั้นหากนำมาใส่ของร้อนหรือของที่มีความมัน ก็จะทำให้สารเคมีที่อยู่ในโฟมลงไปปะปนกับอาหาร ซึ่งผู้บริโภค ก็จะไม่ปลอดภัยด้วย ดังนั้น จึงได้มีการเปิดโครงการดังกล่าวขึ้น และทางกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ในย่านถนนคนเดินเชียงใหม่ ก็ให้ความสนใจในโครงการนี้ และพร้อมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ก็ได้ขอเวลาประมาณ 1 เดือน ในการปรับปรุง เพราะบางร้าน ก็มีการซื้อโฟมมาจำนวนมาก เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบ ก็ค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนกันไป แต่มั่นใจว่าหลังจากระยะเวลา 1 เดือน บริเวณถนนคนเดินเชียงใหม่ จะไม่มีโฟมเป็นภาชนะให้เห็นอีก พร้อมกันนี้ก็มีจุดคัดแยกขยะเพื่อเตรียมพร้อมในการที่จะนำวัสดุที่เป็นใบตอง กระดาษ หรือชานอ้อย ไว้หลายแห่ง เพราะวัสดุเหล่านี้สามารถที่จะนำกลับไปรีไซเคิลได้
ซึ่งโครงการนี้ถือว่าเป็นโครงการเริ่มต้นที่จะช่วยลดโลกร้อน และทำให้ความเป็นอยู่ในด้านสุขภาพของประชาชน และนักท่องเที่ยวดีขึ้น ไม่ต้องเสี่ยงกับสารเคมีที่เป็นอันตราย แล้วยังช่วยให้เมืองเชียงใหม่ สะอาด ปลอดขยะอีกด้วย.
โดย : สนั่น เข็มราช / สราวุธ แสนวิชา
ที่มา : เดลินิวส์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น