ชาวคะฉิ่นและชาวเมียนมาในเชียงใหม่ บุกกงสุลฯ ขอกองทัพเมียนมายุติรัฐประหาร คืนประชาธิปไตย
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 13 ก.พ.2564 ที่หน้าสถานกงสุลเมียนมาประจำเชียงใหม่ ถนนมณีนพรัตน์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้มีการรวมตัวต่อต้านรัฐประหารและต่อต้านการจับกุมผู้นำและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา มีชาวเมียนมาและชาวคะฉิ่นในเชียงใหม่และอาศัยในประเทศไทย นัดรวมตัวกัน เพื่ออ่านแถลงการณ์ กรณีเกิดรัฐประหารในเมียนมา ที่หน้าสถานกงสุลเมียนมาประจำเชียงใหม่ดังกล่าว ผู้ที่เดินทางมาร่วมชุมนุมนำป้ายเขียนข้อความไม่เอารัฐประหารและข้อความไม่เอาเผด็ดการในเมียนมา มีรูปนายพลมิ่น อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐประหมารในเมียนมา มีขีดกากบาททับรูปนายพลฯด้วย ส่วนใหญ่เป็นชาวคะฉิ่นที่อาศัยในประเทศไทยและใน จ.เชียงใหม่ มีชาวเมียนมาส่วนหนึ่ง ใช้เวลาอ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้องหน้ากงศุลเมียนมาเป็น 3 ภาษา มีภาษาคะฉิ่น ภาษาอังกฤษ และภาษาเมียนมา
สำหรับแกนนำของชาวเมียนมาและชาวคะฉิ่นในประเทศไทย ผู้อ่านแถลงการณ์ข้อเรียกร้อง มีนายต้งออง ละชี และนายอนุชาติ ลาพา และนายยาอื๋อ ช่อแล ซึ่งทั้ง 3 คน เป็นตัวแทนชาวคะฉิ่นได้อ่านแถลงการณ์เรียกร้อง ลงวันที่ 13 ก.พ.2564 ว่า พวกเราชาวคะฉิ่นในประเทศไทยขอประณามอย่างรุ่นแรงในการปฏิวัติรัฐประหารของกองทัพเมียนมาในวันที่ 1 ก.พ.2564 โดยการอ้างความรับผิดชอบต่อการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งนำไปสู่การกดขี่ถึงกลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ รวมทั้งพี่น้องชาวคะฉิ่นในประเทศเมียนมา
ผู้นำชนเผ่าเมียนมา และผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์ได้ลงนามในข้อตกลง Panglong ในปี พ.ศ.2490 และ 2491 พื้นที่ชาติพันธุ์ของเมียนมาได้รับเอกราชจากอาณานิคมของอังกฤษด้วยกัน อย่างไรก็ตามเอกราชดังกล่าวได้ทำลายสิทธิของชนกลุ่มน้อยภายใต้การปกครองของเมียนมา
เป็นผลให้กลุ่มชาติพันธุ์ต่อสู้สิทธิ์ทางการเมืองของตนมานานกว่า 70 ปี มีการเจรจามากับทุกรัฐบาลเพื่อหาทางออกทางการเมือง แต่สิทธิทางการเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์หรือชนกลุ่มน้อยยังถูกเพิกเฉย หากปัญหาทางการเมืองของกลุ่มชาติธุ์ในเมียนมา ยังคงถูกเพิกเฉยต่อไป ชาวเมียนมาเอง จะไม่สามารถเติบโตในทุกด้านของชีวิตทางการเมืองและเศรษฐกิจและยังคงเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก
ดังนั้นขอเรียกร้องดังต่อไปนี้
1.กองทัพเมียนมายุติการทำรัฐประหารและคืนอำนาจให้กับประชาชนเมียนมา,
2.ถอนทหารเมียนมาทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในรัฐคะฉิ่นและพื้นที่ชาติพันธุ์ทันที,
3.ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2551
และ 4.รัฐบาลประชาชน ควรจัดการเจรจาทางการเมืองกับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆรับรองสิทธิและเสรีภาพตามที่ชาติชาติพันธุ์ต่างๆเรียกร้องเพื่อกำหนดชะตาชีวิตของตัวเองอย่างเต็มที่ ชาวคะฉิ่นในประเทศไทย ตามเอกสารแถลงการณ์
การรวมตัวครั้งนี้ได้ใช้เวลารวมตัวประมาณครึ่งชั่วโมง พอเสร็จสิ้นการรวมตัวเรียกร้องแล้ว มีชาวเมียนมาที่มาช่วมชุมนุมจำนวนหนึ่งไม่พอใจ ได้นำรูปภาพของนายพลมิ่น อ่อง หล่าย วางกับพื้นถนนแล้วกระทืบและเหยียบย่ำจนภาพขาด จากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมชาวเมียนมาได้สลายตัว ภายใต้การดูแลที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ.
กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน.