โรงเรียนโยธินบูรณะ เจ๋ง คว้ารองชนะเลิศอันดับที่ 2 แข่งขันหุ่นยนต์โลก ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย
เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) คัดเลือกและส่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาของไทยเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์โลก FLL OEC 2011: FIRST LEGO LEAGUE OPEN EUROPEAN CHAMPIONSHIP 2011 ระหว่างวันที่ 2-5 มิ.ย. ที่เมืองเดลฟท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ จำนวน 2 ทีม จากโรงเรียนโยธินบูรณะ และโรงเรียนเซนต์คาเบรียล ขณะนี้การแข่งขันเสร็จสิ้นแล้ว
ปรากฏว่า ทีมโรงเรียนโยธินบูรณะสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 หรือ Champion Award 3rd Place จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 67 ทีม รวมกว่า 1,000 คน จาก 55 ประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศออสเตรเลีย เดนมาร์ก เยอรมนี กรีซ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อิหร่าน โอมาน มาเลเซีย เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ อเมริกา ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยูเครน ส่วนทีมที่คว้าแชมป์โลกเป็นทีมนักเรียนจากประเทศเยอรมนี และรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นทีมนักเรียนเนเธอร์แลนด์
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อว่า การแข่งขันในปีนี้ได้กำหนดหัวข้อไว้ว่า Body Forward หรือการแพทย์เอาชนะความเจ็บป่วย และความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งแต่ละทีมจะต้องทำการแข่งขันทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ประเภท Robot Performance โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรมประกอบหุ่นยนต์ และนำไปปฏิบัติภารกิจบนสนาม ประเภท Robot Design Judging จะเป็นการนำเสนอคณะกรรมการถึงกระบวนการออกแบบ ประกอบ และเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ประเภท Project Judging เป็นการนำเสนองานวิจัยตามหัวข้อที่กำหนดขึ้น และประเภท Teamwork Judging ซึ่งกรรมการจะพิจารณาถึงการทำงานร่วมกัน และการมีส่วนร่วมกันในทุก ๆ ด้านของทีม หลังจากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณานำผลคะแนนทั้ง 4 ประเภทมารวมกัน แล้วจึงจัดอันดับออกมา
“ ปีนี้นับว่าประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ซึ่งน่าภาคภูมิใจที่เด็กไทยของเรามีการพัฒนาศักยภาพ จนสามารถชนะทีมนักเรียนจากนานาประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากกว่าเรา ทั้งนี้คณะผู้แทนไทยจะเดินทางกลับประเทศไทย สายการบินไทย เที่ยวบิน ทีจี 921 เวลา 06.25 น. วันที่ 9 มิ.ย.นี้ “
ปรากฏว่า ทีมโรงเรียนโยธินบูรณะสามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 หรือ Champion Award 3rd Place จากจำนวนผู้เข้าแข่งขันทั้งสิ้น 67 ทีม รวมกว่า 1,000 คน จาก 55 ประเทศทั่วโลก เช่น ประเทศออสเตรเลีย เดนมาร์ก เยอรมนี กรีซ จีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ อิหร่าน โอมาน มาเลเซีย เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ อเมริกา ไต้หวัน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยูเครน ส่วนทีมที่คว้าแชมป์โลกเป็นทีมนักเรียนจากประเทศเยอรมนี และรองชนะเลิศอันดับ 1 เป็นทีมนักเรียนเนเธอร์แลนด์
ดร.ชินภัทร กล่าวต่อว่า การแข่งขันในปีนี้ได้กำหนดหัวข้อไว้ว่า Body Forward หรือการแพทย์เอาชนะความเจ็บป่วย และความบกพร่องของร่างกาย ซึ่งแต่ละทีมจะต้องทำการแข่งขันทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ ประเภท Robot Performance โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องสร้างโปรแกรมประกอบหุ่นยนต์ และนำไปปฏิบัติภารกิจบนสนาม ประเภท Robot Design Judging จะเป็นการนำเสนอคณะกรรมการถึงกระบวนการออกแบบ ประกอบ และเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ ประเภท Project Judging เป็นการนำเสนองานวิจัยตามหัวข้อที่กำหนดขึ้น และประเภท Teamwork Judging ซึ่งกรรมการจะพิจารณาถึงการทำงานร่วมกัน และการมีส่วนร่วมกันในทุก ๆ ด้านของทีม หลังจากนั้นคณะกรรมการจะพิจารณานำผลคะแนนทั้ง 4 ประเภทมารวมกัน แล้วจึงจัดอันดับออกมา
“ ปีนี้นับว่าประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการเข้าร่วมแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติ ซึ่งน่าภาคภูมิใจที่เด็กไทยของเรามีการพัฒนาศักยภาพ จนสามารถชนะทีมนักเรียนจากนานาประเทศซึ่งมีความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีมากกว่าเรา ทั้งนี้คณะผู้แทนไทยจะเดินทางกลับประเทศไทย สายการบินไทย เที่ยวบิน ทีจี 921 เวลา 06.25 น. วันที่ 9 มิ.ย.นี้ “
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น