คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ สภาผู้แทนราษฎร ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำปิงตอนบน ที่จังหวัดเชียงใหม่ มั่นใจ ชาวเชียงใหม่จะมีน้ำใช้เพียงพอตลอดช่วงหน้าแล้ง
เมื่อวันที่ 20
ม.ค. 63 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการบริหารจัดการลุ่มน้ำทั้งระบบ
สภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายวีระกร คำประกอบ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ พร้อมคณะ
ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำปิงตอนบน
ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมี นายคมสัน สุวรรณอัมพา
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย นายสุดชาย พรหมมลมาศ ผู้อำนวยกา รสำนักงานชลประทานที่
1 ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ให้การต้อนรับ
คณะกรรมาธิการฯ ได้เดินทางไปดูพื้นที่ ที่จะใช้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำแม่ลาย
ในตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน
เพื่อใช้กักเก็บน้ำสำหรับการเกษตรและการประปาในพื้นที่
โดยจะสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาด 5 ล้านลูกบาศก์เมตร วงเงินงบประมาณ 830
ล้านบาท ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ จะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2565
ขณะเดียวกัน ยังได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำภายในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด
ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ โดยพบว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำลดลงเหลือเพียง
73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 27
ของความจุเขื่อน ซึ่งนับว่าน้อยมาก แต่ยังคงเพียงพอต่อการใช้น้ำเพื่อการเกษตร
การอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศ ในช่วงหน้าแล้ง
นายวีระกร คำประกอบ รองประธานคณะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า
ในปีนี้เป็นปีที่ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทยต่างประสบปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก
บางพื้นที่ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเริ่มขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคบ้างแล้ว
แต่โชคดีที่แม่น้ำปิง ในจังหวัดเชียงใหม่เป็นแหล่งต้นน้ำ มีน้ำจากแหล่งน้ำต่างๆ
หลายสายมารวมกัน เช่น เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ฝายแม่แตง
รวมถึงอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ
ประกอบมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีจากสำนักงานชลประทานที่ 1
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
จึงทำให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่จะเพียงพอต่อพี่น้องประชาชนตลอดช่วงหน้าแล้งนี้
นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการฯ ยังมีแนวคิดที่จะกักเก็บน้ำที่ไหลจากแม่น้ำกก
แม่น้ำอิง และแม่น้ำน่าน มาใช้ในช่วงหน้าแล้ง
ซึ่งปกติแล้วจะถูกปล่อยไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ดังนั้น
จึงต้องการที่จะผันน้ำจากแม่น้ำทั้ง 3 สาย
เข้ามากักเก็บไว้ในเขื่อนสิริกิติ์
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมหากเกิดภัยแล้งในอนาคต ซึ่งจะทำการศึกษาความเป็นไปได้ต่อไป
พยุงศักดิ์ เทพแก้ว / ธนวัฒน์ ชีพเพียงสรวง ...
ภาพ / ข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่
กมล เครือนิล ทีมข่าว “ที่นี่....เชียงใหม่” สำนักข่าว เชียงใหม่
อัปเดตนิวส์ รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น