<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 20 มกราคม 2568 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส   บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.  กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

17 ธ.ค. 2566

CM-UPDATE NEWS : เชียงใหม่อ่านจัดงานมหกรรมนิทานสร้างเมือง ครั้งที่ 4 ชวนเครือข่าย 23 องค์กรและนิทานเจ้าชายน้อยร่วม หยุดฝุ่นควันรังแกเด็ก ณ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ

 

CM-UPDATE NEWS : เชียงใหม่อ่านจัดงานมหกรรมนิทานสร้างเมือง ครั้งที่  4  ชวนเครือข่าย 23  องค์กรและนิทานเจ้าชายน้อยร่วม หยุดฝุ่นควันรังแกเด็ก ณ ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ 

.

วันที่  16 ธันวาคม 2566 งานมหกรรมนิทานสร้างเมืองครั้งที่  4  “Strong Kids Strong City เด็กแข็งแรง เมืองยั่งยืน” จัดโดยเครือข่ายเชียงใหม่อ่าน   แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส.  และภาคีเครือข่าย 23  องค์กร  มี เด็กๆและครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรมกว่า  1,000  คน   ทัทยา  อนุสสรราชกิจ  ผู้ประสานงานเครือข่ายเชียงใหม่อ่าน  กล่าวถึงที่มาของการจัดงานว่า   “งาน มหกรรมนิทานสร้างเมืองเริ่มต้นจัดครั้งแรกในปี 2563 และได้จัดต่อเนื่องในปี 2564 และ 2565     โดยทุกครั้งที่ จัดงานจะมีการกำหนดแนวคิดหลักเพื่อสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆ และเป็นประเด็นเดียวกับนิทานที่เราสร้างสรรค์ขึ้น ในแต่ละปี ปี  2563  เราผลิตนิทานชุด ‘อ่านดอยสุเทพ’ ธีมงานก็คือ ‘ตะลุยป่าดอยบ้านของเรา’ ปีต่อมาเราทำ นิทาน ‘มาช่วยเพื่อนเรากันนะ’ รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อม จึงใช้หัวข้อ ‘มาช่วยกันสร้างเมืองน่าอยู่’ ปีที่แล้ว เรามี นิทานชุด ‘โลกของน้องหล้า’ ออกมาสองเล่ม คือ ‘น้องหล้าหาผักแกงแค’ กับ ‘อยู่ดีมีรอยยิ้ม’ เราก็ใช้หัวข้อ ‘อยู่ดี มีรอยยิ้ม’ มาสร้างการเรียนรู้ให้เด็กๆ”  ทัทยา กล่าวต่อว่า “หัวใจหลักของการจัดงานมหกรรมนิทานสร้างเมือง คือ การรวมผู้คน องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำงานสร้างการเรียนรู้ และการพัฒนาเมืองเชียงใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ให้มาจับมือกันออกแบบงาน และร่วมมือกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับเมืองให้เด็กๆ โดยปีนี้มีองค์กรร่วมจัด 23  องค์กร ทั้งภาครัฐ  สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ประชาสังคม อาทิ คณะวิทยาศาสตร์  คณะการสื่อสารมวลชน คณะทำงาน ด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุ เทพฯ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สมาคมครูผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์ เครือข่ายเขียวสวยหอม   เครือข่ายชุมชน เมืองรักษ์เชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ 4  อำเภอ  เพจเลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ มูลนิธิศานติวัฒนธรรม โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา โรงเรียนวชิรวิทย์เชียงใหม่ โรงเรียนสอนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ กลุ่มฅนวัยใส ฯลฯ  โดยปีนี้   เครือข่ายเชียงใหม่อ่านได้ผลิตนิทานชุดโลกของน้องหล้า ตอน ‘ฝุ่นควันรังแกหนู’ นำเสนอผลกระทบของ PM 2.5  และการป้องกันเด็ก เราจึงนำหัวใจหลักของนิทานเกี่ยวกับเด็กและเมือง มา กำหนดหัวข้อการจัดงานออกมาเป็น ‘เด็กแข็งแรง เมืองยั่งยืน’  

.

“เพราะฝุ่นควันส่งผลกระทบร้ายแรง  ทั้งร่างกาย จิตใจ และสมองของเด็ก ถ้าเขาไม่ได้รับการปกป้องที่ดี พอ เขาจะเติบโตเป็นประชากรที่แข็งแรงไม่ได้ และประชากรที่ไม่แข็งแรงก็จะเป็นภาระอย่างใหญ่หลวงของเมือง เราก็ใช้นิทานเล่มเล็กๆ นี่แหละทำงาน ทั้งสร้างการตระหนักรู้โดยการส่งไปให้ครูใน 451  ศพด. (ศูนย์พัฒนาเด็ก เล็ก) ทั่วจังหวัด รวมทั้งผู้ปกครองอีก 1,000 คน  ซึ่งงานมหกรรมนิทานฯ ก็ทำหน้าที่เดียวกัน  เพียงแต่เราโฟกัส เรื่องความแข็งแรงของเด็กแทนการรับมือ เพราะเชื่อว่าผู้ปกครองในเมืองมีความเข้าใจเรื่องนี้ในระดับหนึ่ง”   นอกจากนี้  ในงานมหกรรมนิทานสร้างเมือง ทางแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สสส. โดย ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ ประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 8 และที่ปรึกษาคณะกรรมการ กำกับทิศทางแผน ระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส.  สำนัก 11  ได้มอบหนังสือนิทาน “เจ้าชายน้อยกับเพื่อนใหม่ในล้านนา” จำนวน 500 เล่ม ให้ตัวแทนเครือข่ายเชียงใหม่อ่านนำไปใช้ในการสร้างวัฒนธรรมการอ่าน 

.

ด้านนางสุดใจ  พรหมเกิด  ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน  กล่าวว่า  “ในวาระเฉลิม ฉลอง80  ปี เจ้าชายน้อย  ทางแผนงานฯ ได้เชิญ ครูปรีดา  ปัญญาจันทร์   และครูระพีพรรณ  พัฒนาเวช  ร่วม พัฒนาออกแบบหนังสือมาส่งต่อเครือข่ายเชียงใหม่อ่าน  เพื่อเป็นตัวแทนความแข็งแกร่งแห่งพลังจินตนาการ  ถ่ายทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมและธรรมชาติ  พื้นที่เรียนรู้ที่แข็งแรงของเด็กๆ  สมทบต้นทุนการทำงานที่น่าชื่นชม ของเชียงใหม่อ่าน” 

“หนังสือนิทานเป็นเครื่องมือที่สำคัญ ในการสร้างการเรียนรู้อย่างไม่มีข้อจำกัด ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ กับทุกๆ เรื่อง แม้แต่เรื่องของวรรณกรรมเยาวชนอย่าง ‘เจ้าชายน้อย’ ที่ทั่วโลกกำลังร่วมเฉลิมฉลองการครบรอบ 80  ป ีก็ยังสามารถนำมาทำเป็นหนังสือนิทานที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่นได้ เกิดเป็นนิทานเรื่อง ‘เจ้าชายน้อยกับเพื่อน ในล้านนา’ ที่นำมาเปิดตัวในงานนี้เป็นตัวแทนของเจ้าชายน้อยซึ่งถือว่าเป็นเด็กแข็งแรงคนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยดูแลเด็ก คนอื่นๆ ในเมืองนี้ด้วย” นางสุดใจกล่าวเพิ่มเติม    

“ทุกท่านสามารถเข้าร่วมงานมหกรรมนิทานสร้างเมือง และรับหนังสือเจ้าชายน้อยกับเพื่อนใหม่ใน ล้านนากลับบ้านโดยร่วมสมทบเป็นกองทุนให้เชียงใหม่อ่านได้ทำงานต่อไป  รวมทั้งติดตามความเคลื่อนไหวของ การสร้างวัฒนธรรมการอ่านในเชียงใหม่ได้ที่เพจเชียงใหม่อ่าน”  นางสาวทัทยาผู้ประสานงานเครือข่ายเชียงใหม่ อ่านกล่าวทิ้งท้าย    ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ   ทัทยา 0883623325 

.

เครือข่ายร่วมออกแบบงานทั้งสิ้น 23 องค์กร ประกอบด้วย   

1. สกร. อ.ดอยสะเก็ด  

2. สกร. อ.สันกำแพง 

3. สกร. อ.แม่ออน 

4. สกร. อ.เมืองเชียงใหม่  

5. โรงเรียน แฮปปี้ทรี  

6. กลุ่มฅนวัยใส  

7. โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นวาเซดะ 8. อพวช.  

9. สมาคมครูผู้ดูแลเด็กศรีนครพิงค์  

10. สาขาศิลปะการแสดง คณะการสื่อสารมวลชน มช. 

11. ห้องสมุดลิบลับ 

12. มูลนิธิศานติวัฒนธรรม 

13. เขียวสวยหอม  

14. ศูนย์ธรรมชาติวิทยาดอยสุเทพฯ  

15. คณะวิทยาศาสตร์ มช. 

16. คณะทำงานด้านวิชาการเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ภาคเหนือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่   

17. กลุ่มตัวเมือง ครูตุ๋ย  

18. เพจเลี้ยงลูกให้โตไปกับหนังสือ  

19. เชียงใหม่ฮาร์ท  

20. โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา 

21. เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่  

22. โรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่  

23. ห้องเรียนสุดขอบฟ้า











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น