ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ห่วงใยชาวเชียงใหม่มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (อุทกภัย) ที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแจ้งความคืบหน้าการขับเคลื่อนโครงการเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative City) ให้หัวหน้าส่วนราชการได้รับทราบและร่วมขับเคลื่อน
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เนื่องจากในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ จังหวัดเชียงใหม่ได้เกิดฝนตกอย่างต่อเนื่องจนเกิดสถานการณ์อุทกภัย และส่งผลให้มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(อุทกภัย) แล้ว 19 อำเภอ ครอบคลุมพื้นที่ 65 ตำบล 347 หมู่บ้าน 18,220 ครัวเรือน 65,657 คน สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน พื้นที่เพาะปลูก และสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ ในหลายพื้นที่ ซึ่งได้มีการให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนไปแล้วนั้น ทั้งนี้ จากข้อมูลการพยากรณ์อากาศพบว่ายังจะมีฝนตกต่อไปอีก ดังนั้นในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการเมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงได้มอบหมายให้ทุกอำเภอ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งมีการเตรียม ความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ทั้งแผนปฏิบัติการ บุคลากร สรรพกำลังด้านต่าง ๆ และจัดชุดเฝ้าระวังสถานการณ์ตลอด 24 ชม. เพื่อให้สามารถป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ราษฎรที่ประสบภัยได้ครอบคลุมทุกพื้นที่และทันท่วงที
นอกจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้แจ้งความคืบหน้าโครงการเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (Chiang Mai Creative City) แก่หัวหน้าส่วนราชการเพื่อร่วมขับเคลื่อนให้โครงการดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งได้ดำเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง ดังนี้1. จังหวัดเชียงใหม่ได้สมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO ด้าน Crafts And Folk Arts ของ UNESCO โดย จังหวัดเชียงใหม่อยู่ระหว่างการรวบรวม ข้อมูลเพื่อจัดทำ Application เสนอต่อ UNESCO2. ดำเนินโครงการทูตสันถวไมตรีเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (Goodwill Ambassador) โดยเชิญบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นคนไทย และชาวต่างประเทศ ที่มีความสัมพันธ์หรือรู้จัก จังหวัดเชียงใหม่เป็นอย่างดีมาร่วมเป็นทูตสันถวไมตรีเพื่อประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก รวมทั้งจัดหากิจกรรมดี ๆ ในเชิงสร้างสรรค์มาจัดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่3. ดำเนินการการเปิดหน้าเว็บไซต์ www.Chiang Mai Creative City ขึ้น เพื่อเป็นช่องทาง การสื่อสาร และแสดงความก้าวหน้าในการพัฒนาเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ให้ผู้สนใจทั่วโลกได้รับทราบ4. จังหวัดเชียงใหม่ได้รับการประกาศจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ให้เป็น 1 ใน 10 จังหวัดต้นแบบเมืองสร้างสรรค์ (หัตถกรรมสร้างสรรค์) และจะใช้พื้นที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็น Life Museum โดยนำนิทรรศการด้านศิลปวัฒนธรรม หัตถกรรมของ จ.เชียงใหม่มาจัดแสดง5. การจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา และมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ผลักดันให้มีการจัดตั้งอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือขึ้น โดย สนง.คณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ได้นำคณะไปร่วมประชุม Science Park ที่กรุงโคเปนเฮเก้น ประเทศเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 18 – 23 มิถุนายน 25546. การจัดมหกรรมฟรีคอนเสิร์ต โดยร่วมกับ เอ็มทีวีเอ็กซิท โดยความร่วมมือกับรัฐบาล องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศออสเตรเลีย (AUSAID) จัดมหกรรมฟรีคอนเสิร์ตครั้งยิ่งใหญ่ (MUSIC) ขึ้น เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2554 ณ สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปีผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์เกิดขึ้นจากความคิดริเริ่มที่จะพัฒนาและสนับสนุนเมืองเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์, ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม โดยที่ข้อมูลจากเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกได้แสดงให้เห็นว่า การที่เมืองมีจุดยืนที่แน่นนอนและเน้นการพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้เมืองนั้น ๆ ประสบความสำเร็จและกลายเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจ ความคิดริเริ่มของเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์นี้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ของรัฐบาลไทยในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย สร้างขึ้นโดยยึดจุดแข็งของเมืองเชียงใหม่ และนอกเหนือจากวัตถุประสงค์หลักของเชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ ซึ่งคือการสร้างสิ่ง(ชุมชน)ที่มีอยู่แล้ว (องค์ความรู้, ประวัติศาสตร์, วัฒนธรรมล้านนา, คุณภาพชีวิตและทักษะของชุมชน) และยกระดับสิ่งเหล่านั้นเพื่อที่จะทำให้เมืองเชียงใหม่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเมืองให้เป็นสถานที่ที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับการใช้ชีวิต, การทำงาน, การทำธุรกิจและการลงทุน ด้วยความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันและนวัตกรรมจะสร้างสภาพแวดล้อมในเมืองที่น่าสนใจมากขึ้นและสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สูงขึ้น อย่างยั่งยืนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่าการสนับสนุนเมืองเชียงใหม่ให้เป็นสถานที่สำหรับการลงทุนและธุรกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมหลักที่มีอยู่ จะทำให้เชียงใหม่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรธุรกิจและนักลงทุน เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์นี้จะสร้างโอกาสและงานให้มีมากขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแก่นแท้สำคัญของเมืองเชียงใหม่ที่ทำให้เชียงใหม่เป็นเมืองที่มีความน่าสนใจ และน่าดึงดูดเป็นพิเศษ กล่าวโดยสรุปคือ เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์นี้คิดขึ้นสำหรับคนเชียงใหม่ในอนาคต – เพื่อเพิ่มการสร้างให้งานมากขึ้น สร้างโอกาสให้มากขึ้น อีกทั้งยังสร้างความน่าสนใจ ความยั่งยืน และสภาพแวดล้อมในทางสังคมและเมือง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น