<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 20 มกราคม 2568 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส   บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.  กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

31 ก.ค. 2554

กรมชลฯเตือนกทม.เฝ้าระวังน้ำท่วม


นายชลิต ดำรงศักดิ์

กรมชลฯระบุสัปดาห์หน้าน้ำเหนือไหลถึงกทม. เตือนพื้นที่อาศัยนอกคันกั้นน้ำเตรียมรับมือน้ำท่วม
นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลันจากพายุนกเตนว่าขณะนี้ได้รับรายงานจากกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าพายุนกเตนได้อ่อนกำลังลงเป็นดีเปรสชั่นทำให้ลดความรุนแรงลงไปมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ รวมทั้งปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในระดับต่ำจึงช่วยให้การระบายน้ำออกจาพื้นที่น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่นจังหวัดหนองคาย นครพนม สามารถระบายน้ำออกจากพื้นที่ได้รวดเร็วจะไม่ทำให้พื้นที่การเกษตรเสียหายมากนัก อย่างไรก็ตามพื้นที่จังหวัดภาคเหนือซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากเช่น จังหวัดแพร่ น่าน พิจิตร จะได้รับผลกระทบอีกเพราะลุ่มน้ำยม มีปริมาณฝนตกน้ำสะสมในพื้นที่มีปริมาณมากกว่าปี 2553 และเป็นลุ่มน้ำเดียวที่ไม่มีเขื่อนในการบริหารจัดการน้ำ
ทั้งนี้ได้สั่งการให้เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์พร่องน้ำลง  และพร่องน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติรวมทั้งคลองชลประทาน ในทุ่งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้ง 8 จังหวัดตั้งแต่ชัยนาท นครสวรรค์  สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง  สุพรรณบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา เพื่อเตรียมพื้นที่ไว้รับน้ำเหนือที่จะมาถึงเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทในสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยาออกอ่าวไทย โดยอาศัยช่วงจังหวะที่น้ำทะเลไม่หนุน เพื่อเตรียมรับมือและป้องกันน้ำท่วมฉับพลัน
"ในสัปดาห์หน้าในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเฉพาะพื้นที่ที่อาศัยอยู่นอกคั้นกั้นน้ำ ให้ประชาชนเตรียมรับมือและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมไว้ด้วย เพราะปริมาณฝนตกในปีนี้ค่าเฉลี่ยตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงปัจจุบันมากกว่าปี 2553 ทั้งปีไปแล้ว และอุทกภัยจะเกิดเร็วขึ้น โดยกรมชลประทาน จะประชุมประเมินสถานการณ์และแถลงข่าวสถานการณ์น้ำทุกวันอังคารของสัปดาห์เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนได้ทันท่วงทีเพราะฤดูฝนยังอยู่อีก 4 เดือนซึ่งการเตือนภัยล่วงหน้าทำได้เพียงสั้นๆเท่านั้นเพราะสภาพอากาศมีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว"นายชลิตกล่าว
ที่มา:โพสทูเดย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น