<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 20 มกราคม 2568 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส   บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 3-10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.  กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

28 ก.ค. 2554

ยูเอ็นชี้ปิดศูนย์อพยพตากไม่ง่าย


ยูเอ็น เผย ปิดศูนย์อพยพผู้ลี้ภัยจากการสู้รบในพม่าไม่ใช่เรื่องง่าย ยอมรับอยู่อาศัย 27 ปีนานเกินไป
เจ้าหน้าที่ภาคสนามของสำนักงานข้าหลวงใหญ่สหประชาชาติ(ยูเอ็นเอชซีอาร์)  ด้านชายแดนไทย - พม่า จ.ตาก  กล่าวว่า ทางยูเอ็นเอชซีอาร์.ยังไม่ได้รับการประสานจากไทยในกรณีที่หน่วยงานของรัฐบาลไทยมีแผนที่จะปิดพื้นที่พักพิงผู้ลี้ภัยจากการสู้รบชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ที่อาศัยกว่า 70,000 คน ตามที่รัฐบาลพม่ายื่น 3 เงื่อนไขเลือกับการเปิดด่านเมียวดี-แม่สอด
 
ทั้งนี้ ศูนย์อพยพดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่พักพิงบ้านแม่หละ ต.แม่หละ อ.ท่าสองยาง , บ้านอุ้มเปี้ยม ต.คีรีราษฎร์ อ.พบพระ และบ้านนุโพ ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก โดยเชื่อว่า หากปิดพื้นที่พักพิงมันไม่ง่ายจะต้องใช้ระยะเวลา 2-3 ปี ซึ่งจะผลักดันกลับไปได้เลยทั้งหมดหรือไม่ แต่ยอมรับว่า ผู้หนีภัยจากการสู้รบมาอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงในพื้นที่จ.ตากนั้น ได้อาศัยถึง 27 ปี มันเป็นเวลานานเกินไปแล้ว และจำนวนประชากรในพื้นที่พังพิงก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่าง 
 
อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าจะมีการส่งไปประเทศที่ 3 อย่างต่อเนื่องไปกว่า 5 หมื่นคนแล้ว แต่ผู้ลี้ภัยกลับไม่ลด ฉะนั้นการแก้ปัญหาด้วยการส่งไปประเทศที่ 3 จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกจุด ส่วนการปิดหรือไม่ปิดศูนย์ผู้ลี้ภัยนั้น ไม่ใช่หน้าที่ของยูเอ็นเอชซีอาร์ เพราะเป็นเพียงผู้ดูแลผู้อพยพเท่านั้น ดังนั้นหากจะปิดศูนย์อพยพ ทั้งสองประเทศคือพม่าและไทยจะต้องทำเอ็มโอยูบันทึกความเข้าใจแล้วจึงจะดำเนินการได้ และเมื่อถึงตอนนั้นทางยูเอ็นเอซซีอาร์ ก็มีหน้าที่เข้าไปดูเรื่องการส่งกลับมาตุภูมิว่ามีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ กลับไปแล้วสามารถประกอบอาชีพอยู่ได้อย่างไม่ขาดแคลน หลังจากนั้นถึงจะหมดหน้าที่ของยูเอ็นเอชอาร์ซี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น