<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 01 เมษายน 2567 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

2 ต.ค. 2554

คลองลัดโพธิ์ พระอัจฉริยภาพแก้น้ำท่วม

ชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน

 “ผมอยากเรียนเรื่องนี้ จากการที่ได้เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ท่านได้พระราชทานคำแนะนำว่า ประตูลัดโพธิ์เป็นตัวอย่าง ถ้าเราขยายผลไปสู่ที่อื่นได้ ก็จะเป็นประโยชน์มาก”
โดย ธรรมสถิตย์  ผลแก้ว
สถานการณ์อุทกภัยมีทีท่าจะรุนแรงมากขึ้น กระทบหลายพื้นที่ประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่หัวใจทางเศรษฐกิจ“กรุงเทพมหานคร” กำลังเป็นที่จับตามองด้วยความเป็นห่วง   แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย จึงมีโครงการพระราชดำริให้ขุดคลองลัดโพธิ์ ต.ทรงคะนอง จ.สมุทรปราการ เพื่อเป็นทางลัดระบายน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาลงสู่อ่าวไทยโดยเร็ว
พระปรีชาสามารถของพระองค์เป็นที่ประจักษ์  นับตั้งแต่ปี 2549  มีสัญญาณน้ำหลากหวั่นเกรงน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ แต่เมื่อคลองลัดโพธิ์เปิดใช้งานพอดีสามารถทำให้กรุงเทพมหานครผ่านพ้นวิกฤติไปได้ 
ชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน   เปิดใจโพสต์ทูเดย์ว่า  พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการแก้ปัญหาอุทกภัย พระองค์ท่านมีพระราชดำริหลายเรื่องที่นำมาใช้ระบายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นโครงการแก้มลิงภาคตะวันออกและตะวันตกของกรุงเทพฯ  ซึ่งส่วนนี้มีโรงสูบน้ำทางด้านชายทะเลที่จะสูบน้ำออก  น้ำที่สูบออกคือน้ำที่ผันออกเหนือเขื่อนเจ้าพระยาทางด้านตะออก ตะวันตก นอกจากนั้นยังมีเขื่อนในพระราชดำริที่สำคัญ เขื่อนแควน้อยที่พิษณุโลก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ลพบุรีเป็นเครืองมือทั้งนั้น แต่สุดท้ายน้ำก้อนใหญ่ต้องระบายผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านกรุงเทพ จะมีบริเวณหนึ่งที่ต.ทรงคะนอง ลักษณแม่น้ำจะวกเป็นลักษณะที่เราเรียกว่ากระเพาะหมูออกอ่าวไทย ระยะ18 กิโลเมตร  ถ้าไม่ทำอะไรสักอย่างทางเดินของน้ำจะยาวมาก ใช้เวลาระบายน้ำนานมาก...readmore

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น