<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 27 มีนาคม 2567 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

14 ก.ย. 2564

สำนักงานชลประทานที่ 1 จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ดูงานชลประทาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564

 


สำนักงานชลประทานที่ 1 จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ดูงานชลประทาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ในพื้นที่โครงการชลประทานและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา เขตสำนักงานชลประทานที่ 1

     เมื่อวันอังคารที่ 14 กันยายน 2564 เวลา 09.00 น. นายอภิวัฒน์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 1 พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานชลประทานที่ 1  นำคณะสื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ ลงพื้นที่ดูงานโครงการชลประทานเชียงใหม่ เพื่อรับฟังผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ภาพรวมสถานการณ์น้ำในพื้นที่โครงการฯ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำในอนาคต ตลอดจนแผนการพัฒนาชลประทานระยะ 20 จังหวัดเชียงใหม่ ณ โครงการชลประทานเชียงใหม่ ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ นายสิรภพ แท่นมณี หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโครงการชลประทานเชียงใหม่ให้การต้อนรับ 

       สำหรับโครงการชลประทานเชียงใหม่ แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบออกเป็น 8 ส่วน โดยมีฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1-8 เป็นผู้รับผิดชอบ 25 อำเภอของจังหวัดเชียงใหม่ มีโครงการชลประทานประเภทอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก จำนวน 176 แห่ง แก้มลิง 1 แห่ง ฝาย 450 แห่ง ประตูระบายน้ำ 5 แห่ง สถานีสูบน้ำ ระบบส่งน้ำ ระบบระบายน้ำและอื่น ๆ รวม 402 แห่ง โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้มีพื้นที่ทำการเกษตรที่เหมาะสม ทุกภาคส่วนได้รับน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ตลอดจนราษฎรได้รับความสูญเสียเนื่องจากภัยอันเกิดจากน้ำลดลง ทั้งนี้ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ กรอบการพัฒนาระยะยาว และยุทธศาสตร์กรมชลประทานทั้ง 6 ประการ สำหรับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ จะประเมินตามศักยภาพของลุ่มน้ำ ในช่วงที่เกิดน้ำแล้ง จะดำเนินการเพิ่มน้ำต้นทุน ให้มีกระจายน้ำและการบริหารจัดการน้ำตามโครงการต่าง ๆ ในช่วงที่เกิดน้ำท่วมทางโครงการชลประทานเชียงใหม่มีแผนป้องกันพื้นฟูสภาพต้นน้ำ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ พัฒนาและปรับปรุงแหล่งน้ำ ระบบระบายน้ำ ซึ่งจะมีระบบป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจและชุมชน ตลอดจนพื้นที่รับน้ำนองและแก้มลิง  ในช่วงที่เกิดน้ำเสียตามแหล่งน้ำต่าง ๆ จะมีการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้กับประชานชน พร้อมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อเจือจางน้ำเสีย รวมถึงการกำจัดวัชพืชที่จะเป็นอุปสรรคในการเดินทางของน้ำซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดน้ำเน่าเสียเช่นกัน 

       ส่วนการคาดการณ์ความต้องการใช้น้ำในอนาคตของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 4 กิจกรรมหลักๆ ได้แก่การอุปโภค-บริโภค 95.64 ล้านลูกบาศก์เมตร การรักษาระบบนิเวศน์ 130.91 ล้านลูกบาศก์เมตร การเกษตร (ในเขตพื้นที่ชลประทานและนอกเขตพื้นที่ชลประทาน) 1,942.34 ล้านลูกบาศกเมตร และอุตสาหกรรม 16.06 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้ง 4 กิจกรรม 2,184.95 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดการณ์ว่าในอีก 20 ปี (พ.ศ.2580) จะเพิ่มขึ้นอีก 1,534.84 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือเท่ากับ 3,719.79 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 70.24% สำหรับแผน-ผลการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี 2564 ในพื้นที่เขตความรับผิดชอบของโครงการชลประทานเชียงใหม่ได้วางแผนไว้ 81,366 ไร่ ปัจจุบันดำเนินการตามแผนแล้ว 75,491 ไร่ คิดเป็น 92.77% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายน-ตุลาคมนี้ อย่างไรก็ตามทางโครงการชลประทานเชียงใหม่ ยังคงมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำชับให้บุคลากรผู้รับผิดชอบร่วมลงพื้นที่เพื่อชี้แจงสถานการณ์น้ำและเหตุการณ์สำคัญ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจและแจ้งเตือนเหตุการณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ตลอดจนมีการรณรงค์ให้ใช้น้ำฝนเป็นหลักและใช้น้ำชลประทานเสริมเพื่อจะได้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้าอีกด้วย















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น