<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 01 เมษายน 2567 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

30 พ.ค. 2559

เชียงใหม่จัดพิธีตามโครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป


"ที่นี่....เชียงใหม่" จังหวัดเชียงใหม่จัดพิธีตามโครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ

วันที่ 28 พ.ค. 59 เวลา 09.30 น. ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดพิธีตามโครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม โดยมี พระธรรมมังคลาจารย์ (ทอง สิริมงฺคโล)เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีพิธีบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 โครงการนี้เป็นโครงการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ชายไทยทั่วประเทศได้แสดงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวทีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สอดคล้องกับการดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการปณิธานความดีปีมหามงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพิเศษ 3 ปีต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ปี 2558-2560 อีกด้วย
ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการบรรพชาอุปสมบทในโครงการฯ จำนวน 9 รูป มาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ และมีผู้เข้าร่วมบรรพชาสมทบอีกจำนวน 8 รูป รวมจำนวนทั้งสิ้น 17 รูป อยู่จำพรรษาที่วัดวัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) เป็นเวลา 15 วัน 
 ซึ่งในวันที่ 8 มิถุนายน 2559 จะเดินทางไปพักแรมยังพุทธมณฑล 1 คืน และในวันที่ 9 มิถุนายน 2559 พระภิกษุทั้ง 770 รูป เดินทางไปรับบาตรพุทธศาสนิกชนและเจริญพระพุทธมนต์ยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และจะมีพิธีลาสิกขาในวันที่ 12 มิถุนายน 2559 ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่

ทีมข่าว" ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน









25 พ.ค. 2559

พิธีปลงผมนาค โครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ


จังหวัดเชียงใหม่จัดพิธีปลงผมนาค โครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่

วันที่ 25 พ.ค. 59 เวลา 17.30 น. ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ พระครูปลัดนพพันธุ์ ฐิตธมฺโม รักษาการเจ้าอาวาส วัดร่ำเปิง(ตโปทาราม) นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานพิธีปลงผมนาค โครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูป เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ 70 ปี 9 มิถุนายน 2559 และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 เป็นโครงการที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กำหนดจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้ชายไทยทั่วประเทศได้แสดงความจงรักภักดี ความกตัญญูกตเวทีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ สอดคล้องกับการดำเนินงานในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการปณิธานความดีปีมหามงคล เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพิเศษ 3 ปีต่อเนื่องกัน ตั้งแต่ปี 2558-2560 อีกด้วย
ในส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินการบรรพชาอุปสมบทในโครงการฯ จำนวน 9 รูป มาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ และมีผู้เข้าร่วมบรรพชาสมทบอีกจำนวน 8 รูป รวมจำนวนทั้งสิ้น 17 รูป ซึ่งในวันนี้เป็นการทำพิธีปลงผมนาค และซ้อมขานนาคระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2559 และจะมีพิธีบรรพชาอุปสมบทในวันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ อยู่จำพรรษาเป็นเวลา 15 วัน และจะมีพิธีลาสิกขาในวันที่ 12 มิถุนายน 2559 จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและประชาชนที่สนใจเข้าร่วมบุญในโครงการตามวันเวลาดังกล่าว

ขอบคุณแหล่งที่มาของภาพและข่าว
ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน








24 พ.ค. 2559

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จัดงาน NSP Innovation Fair 2016


อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (NSP : Northern Science Park) จัดงาน NSP Innovation Fair 2016 ขึ้น ภายใต้การสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่กิจกรรม รวมถึงแสดงผลงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ตลอดจนสร้างความเข้าใจในการ ให้บริการและการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้ามาใช้บริการอุทยานฯ เพิ่มมากขึ้น 

 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2559  ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ชั้น G ลานอควาเรียม จังหวัดเชียงใหม่  รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้ง นางสาวทิพวัลย์ เวชชการัณย์ ผู้อานวยการสานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตลอดจนคณะผู้บริหารเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ร่วมเปิดงาน


รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า NSP Innovation Fair 2016 เป็นงานที่แสดงผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมในการเพิ่มมูลค่ากระบวนการและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการใน พื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเกิดจากการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) อันเป็นความร่วมมือของ ภาคการศึกษา คือ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแม่ข่ายการบริหารการดาเนินงาน ร่วมกับภาคเอกชน ได้แก่ ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรม ผนวกกับ ภาครัฐบาล คือ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สานักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการ อุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ที่ให้การสนับสนุนการดาเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 3 ภาคส่วนนี้ล้วนสาคัญยิ่งต่อการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือและประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมที่จะเป็นส่วนสาคัญในการสนับสนุนและผลักดันให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนืออย่างยั่งยืนต่อไป


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อานวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า งาน NSP Innovation Fair 2016 จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อแสดงศักยภาพและ ความพร้อมในการให้บริการ รวมถึงประชาสัมพันธ์ผลงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือให้ผู้ที่เกี่ยวข้องใน พื้นที่รู้จักและเข้าใจ และเพื่อประสาน เชื่อมโยงนักวิจัยกับภาคเอกชน ภายใต้การนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ นวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ให้เกิดมูลค่าสูงสุด ภายใต้ แผนกลยุทธ์ของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ได้แก่ โครงการ พัฒนาบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์, โครงการบ่มเพาะธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม, โครงการ พัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีและวิจัยของภาคเอกชนในพื้นที่ และโครงการวิจัยร่วมกับภาคเอกชน


ภายในงาน NSP Innovation Fair 2016 ประกอบด้วยการออกบูธแสดงสินค้าจากผู้ประกอบการที่ใช้บริการ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ ซึ่งเป็นผลงานจากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวม 49 ราย, บูธบริการ ให้คาปรึกษาด้าน วทน., กิจกรรมการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์จากผู้ประกอบการที่ประสบ ความสาเร็จ และพิธีมอบรางวัล NSP Innovation Awards 2016 งาน NSP Innovation Fair 2016 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 20-22 พฤษภาคม 2559 เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เชียงใหม่ แอร์พอร์ต ชั้น G ลานอควาเรียม

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน






23 พ.ค. 2559

4-5 มิย.นี้ เตรียมสัมผัสรถพลังงานแสงอาทิตย์สุดยอดหนึ่งเดียวของไทยที่เชียงใหม่


กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามจะนำรถยนต์คันแรกของไทย ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ วิ่งข้ามทวีปออสเตรเลียมาแล้ว มาจัดแสดงที่จังหวัดเชียงใหม่ ในสัปดาห์สิ่งแวดล้อม วันที่ 4 - 5 มิถุนายนนี้ ที่ลานโปรโมชั่นชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่
ดร.ฐกฤต ปานขลิบ คณบดีคณะเทคโนโลยีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เปิดเผยว่า กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม เตรียมจัดงาน “ฮอมแฮง แป๋งโลกงาม” เนื่องในสัปดาห์วันสิ่งแวดล้อมโลก ตามโครงการประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2559 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเกี่ยวกับนโยบายการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมปลูกจิตสำนึกแก่ประชาชนทั่วไปให้มีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอย โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้น ระหว่าง 4 - 5 มิถุนายน ที่ลานโปรโมชั่นชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลเชียงใหม่



ดร.ฐกฤต กล่าวว่า ไฮไลต์สำคัญของการจัดงานครั้งนี้ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามจะนำรถ พลังงานแสงอาทิตย์ คันแรกของไทยที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์และวิ่งได้ไกลที่สุดถึง 3,022 กิโลเมตร โดยไม่ใช้พลังงานจากภายนอก ได้รับรางวัลการประกวดสิ่งประดิษฐ์ระดับประเทศ และผ่านการแข่งขัน World Solar Challenge ที่ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามเป็นสถาบันเดียวในประเทศไทยที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี เมื่อเดือนตุลาคม 2558 ที่ผ่านมา มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ติด 1 ใน 10 ของมหาวิทยาลัยดังทั่วโลกมาร่วมการแข่งขัน


คณบดี คณะเทคโนโลยีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กล่าวว่า World Solar Challenge เป็นการแข่งขันรถพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก จัดขึ้นทุกๆ 2 ปีที่ประเทศออสเตรเลีย ใช้เวลาวิ่ง 5 วัน จากเมืองใต้สุดไปเหนือสุดของทวีปออสเตรเลีย โดยรถจะวิ่งได้เฉพาะตอนกลางวันที่มีแสงอาทิตย์เท่านั้น เพราะกติกาห้ามมีการชาร์จพลังงาน ใช้ได้เฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามสร้างรถคันนี้ ในราคา 3 แสนกว่าบาทใช้เวลาออกแบบให้มีน้ำหนักเบาที่สุด ใช้กำลังน้อยที่สุดโดยที่บนตัวรถจะติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ เพื่อเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อเก็บพลังงาน วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นกระบวนการออกแบบทางวิศวกรรมหากวิ่งเร็วเกินไปก็จะใช้พลังงานมาก วิ่งได้ต่อเนื่อง 9 - 10 ชั่วโมง หากขาดแสงอาทิตย์จะวิ่งได้ต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง


คณบดี คณะเทคโนโลยีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม กล่าวอีกว่า ถือเป็นบทพิสูจน์บทหนึ่งที่ทำให้เห็นว่ารถพลังงานแสงอาทิตย์สามารถใช้งานได้จริง โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์สูง พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีส่วนเพิ่มมลพิษในสิ่งแวดล้อม และที่สำคัญ รถพลังงานแสงอาทิตย์ไม่มีเสียง เชื่อว่าในอนาคตรถพลังงานแสงอาทิตย์จะมีบทบาทเป็นอย่างยิ่งที่สำคัญสามารถพิสูจน์ให้เห็นว่าพลังงานแสงอาทิตย์สามารถนำพา รถยนต์โดยสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งในระยะใกล้ไกลได้ โดยไม่พึ่งพาพลังงานจากภายนอกเลย ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี

ขอบพระคุณภาพข่าวจาก สวท. เชียงใหม่
ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน


พิงคนครฯค้นหาสุดยอดนักออกแบบ “จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว”



สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) โดยสำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จัดกิจกรรมการประกวดออกแบบและจัดทำต้นแบบ “จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว” ขึ้น เพื่อจัดหาแบบจักรยานโดยสารที่สะดวกต่อการใช้งาน มีเอกลักษณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม การท่องเที่ยวของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี ซึ่งเป็นการปลุกกระแสและสร้างแรงดึงดูดให้แก่นักท่องเที่ยวที่นิยมขี่จักรยานให้มาสัมผัสธรรมชาติที่สวยงามของเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี พร้อมทั้งเพิ่มพูนประสบการณ์ในการเดินทางท่องเที่ยว อีกด้วย
การประกวดออกแบบและจัดทำต้นแบบ “จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว” เพื่อชิงเงินรางวัล จำนวน 50,000, 30,000, 20,000 และ 10,000 บาท ได้แบ่งประเภทของการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท คือ 1.ประเภทอนุรักษ์ 2.ประเภทสร้างสรรค์ ซึ่งทั้ง 2 ประเภท จะมีขอบเขตในการจัดทำในเรื่องของการใช้งาน เรื่องราว และการออกแบบ ซึ่งผู้ที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจะต้องพัฒนาตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการทั้งในด้านแนวคิด การผลิตตัวต้นแบบ จนถึงการนำมาใช้งานจริง ผู้ที่สนใจแข่งขันประกวดทั้งแบบเดี่ยว หรือเป็นทีม (ทีมละไม่เกิน 3 คน) สามารถส่งเอกสารการประกวดแบบฯ ได้ด้วยตัวเองหรือส่งมาทางไปรษณีย์ที่ สำนักงานเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (งานอนุรักษ์และวิจัย ฝ่ายบริหารจัดการสัตว์) เลขที่ 33 ม.12 ต.หนองควาย อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 50230 ตามเวลาราชการ หรือส่งมาที่
 Email: helinoid@gmail.com ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 10 มิถุนายน 2559
ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จำนวน 10 ทีม จะได้รับเงินสนับสนุนเป็นทุนในการผลิตจักรยานโดยสารต้นแบบ เพื่อนำมาจัดนิทรรศการแสดงผลงาน และจะได้ทำการตัดสินการประกวดการแข่งขันประกวด “จักรยานโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว” ในวันที่ 14 สิงหาคม 2559 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) 
โทร. 053 – 920000

ทีมข่าวที่นี่....เชียงใหม่๋ สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน

21 พ.ค. 2559

สนช. จับมือ สอว. และเครือข่ายพันธมิตร รุกสร้างผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่นำร่องภาคเหนือ


สนช. จับมือ สอว. และเครือข่ายพันธมิตร รุกสร้างผู้ประกอบธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่นำร่องภาคเหนือ คาด 4 ปี ปั้น 240 สตาร์ทอัพ สร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 1,200 ล้านบาท

 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. ร่วมกับสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ เปิดตัวโครงการ “Northern Innovative Startup” เพื่อเร่งกระตุ้นและสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ที่มีการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและยั่งยืน


รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “ที่ผ่านมากระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ได้ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเครือข่ายภาคเอกชน จัดงาน Startup Thailand 2016 ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ภายใต้แนวคิด “Unite to Rise" หรือ “รวมพลังสตาร์ทอัพ เพื่อก้าวต่อไปของเศรษฐกิจไทย” ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเกิดความคาดหมาย และเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนนโยบายจึงมอบให้ สอว. และ สนช. ร่วมกับหน่วยงานและภาคเอกชนในพื้นที่ขับเคลื่อนการสร้าง Startup ในระดับภูมิภาค โดยใช้กลไกของหน่วยงานต่างๆ บูรณาการงานร่วมกันจัดเป็นโครงการ “Northern Innovative Startup” ขึ้น” โดยมีรูปแบบและกิจกรรมการสนับสนุน ได้แก่ 1) กิจกรรมการค้นหาและสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (Start-up) ซึ่งจะประกอบด้วยกิจกรรม 3 Days Startup และกิจกรรม 8 Weeks Coaching 2) NIS’s Fund มาตรการสนับสนุนเงินอุดหนุนการตั้งต้นธุรกิจ โดย สนช. จะให้การสนับสนุนในลักษณะของเงินให้เปล่า ในรูปแบบกลไกของ “เงินอุดหนุน” วงเงินอุดหนุนไม่เกินร้อยละ 90 และไม่เกิน 600,000 บาทต่อรายต่อโครงการ ซึ่งคาดว่าผลกระทบจากมาตรการการสนับสนุนกิจกรรมดังกล่าวในระยะเวลา 4 ปี จะก่อให้เกิดผู้ประกอบการนวัตกรรมรายใหม่ที่มีศักยภาพสูงในภาคเหนือที่มูลค่าธุรกิจเบื้องต้นเฉลี่ยอย่างน้อย 5 ล้านบาท รวมอย่างน้อย 240 ราย คิดเป็นมูลค่าเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นประมาณ 1,200 ล้านบาท”


ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “สนช. ได้รับมอบหมายจาก วท. ให้เป็นเจ้าภาพในการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่ง สนช. ตระหนักถึงโอกาสและความตื่นตัวจากการสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ ดังนั้น จึงร่วมกับ สอว. อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดภาคเหนือ จัดตั้งโครงการ “การสร้างผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรุ่นใหม่ภาคเหนือ” (Northern Innovative Startup : NIS) เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในการทำธุรกิจสูง แต่ยังขาดการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ซึ่งภาคเหนือของประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 
ในปัจจุบันมี Startup ในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 500 ราย โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพ (80%) เชียงใหม่ (10%) และภูเก็ต (5%) ตามลำดับโดยมีกลุ่มธุรกิจที่น่าสนใจหลากหลายด้าน อาทิ ธุรกิจความงามและสุขภาพ กลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร การท่องเที่ยวและโรงแรม รวมถึงไอทีและดิจิตัลคอนเทนส์ โดยโครงการ NIS นับเป็นการสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และช่วยให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาศักยภาพในการสร้างผู้ประกอบการที่สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนต่อไป”


“พื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และกลุ่มจังหวัดทางภาคเหนือ เป็นกลุ่มเมืองที่มีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยกลุ่มธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนี้ ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจทางการแพทย์ เวชสำอาง และธุรกิจด้านเทคโนโลยี ดังนั้น โครงการ NIS จึงมุ่งเน้นไปยัง 3 กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ (1) IT Software และ Digital Content (2) Medical Spa and Wellness และ (3) Smart Tourism และธุรกิจอื่นๆ ผ่านกลไกของ สอว. และ สนช. และได้รับความร่วมมือจากอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสภาหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ โดยสภาหอการค้านั้นมี“เครือข่ายทายาทนักธุรกิจรุ่นใหม่ (YEC : Young Entrepreneur Council)” ซึ่งเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ที่สืบทอดธุรกิจ หรืออยากเริ่มต้นธุรกิจของตนเอง เป็นกลุ่มนักธุรกิจที่มีศักยภาพและต้องการพัฒนาทักษะและความสามารถในการบริหารงาน เป็นข้อดีในการเร่งการสร้างธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ในพื้นที่ภาคเหนือ และสร้างกรณีศึกษาที่มีความเป็นไปได้ให้แก่นักธุรกิจ เพื่อเป็นการพัฒนานักธุรกิจรุ่นใหม่ ในท้องถิ่นให้มีศักยภาพ และมีประสิทธิภาพ รองรับการขยายตัวของธุรกิจในท้องถิ่น ระดับจังหวัด รวมถึงระดับภูมิภาคและตลอดจนรองรับการขยายตลาดธุรกิจเพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และยังถือว่า เป็นการพัฒนากระบวนการเริ่มขับเคลื่อนธุรกิจสายใหม่ๆที่เป็นนวัตกรรมให้กับประเทศ ซึ่งเป็นการดำเนินไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ว่า “ไทยต้องผลิตนักรบเศรษฐกิจขึ้นมาให้มากที่สุดที่จะทำได้” ดร.พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน


16 พ.ค. 2559

ชาวบ้านเร่งช่วยปลาวัดอุโมงค์หลังลอยตายเป็นแพเหตุน้ำแห้งขอดพิษภัยแล้ง


ที่วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หลายหน่วยงานเร่งช่วยเหลือปลาจำนวนนับพันตัวภายในสระน้ำของวัดอุโมงค์ หลังปริมาณน้ำภายในสระของวัดฯแห้งขอด ปลาลอยตายเป็นแพ ประชาชน ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือปลาที่ยังไม่ตาย 
วันที่ 16 พ.ค59 ผู้สื่อข่าวรายงานจากวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ หลังปริมาณน้ำภายในบ่อน้ำของวัดฯแห้งขอด ปลาลอยตายเป็นแพ ประชาชน ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือปลาที่ยังไม่ตาย โดยช่วงบ่ายวานนี้ (15 พ.ค.59) ทางวัดได้ประสานให้ทางชาวบ้านและเจ้าหน้าที่เร่งลำเลียงปลาขนาดใหญ่ อาทิ ปลาสวาย ปลาบึก ปลาดุก ที่อยู่ในบ่อ น้ำหนักตัวกว่า 30-40 กก. ที่อาศัยอยู่ในบ่ออายุราว 20-30 ปี ออกจากบ่อ เนื่องจากใกล้จะตายเพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัด ประกอบกับน้ำในบ่อที่ตื้นเขินจนทำให้ปลาขนาดใหญ่ไม่สามารถว่ายน้ำได้ 



 เวลาต่อมา นายศรัณยู มีทองคำ นายอำเภอเมืองเชียงใหม่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันลงพื้นที่ตรวจสอบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งได้สั่งการให้มีการดำเนินการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยเบื้องต้นจะนำปลาทั้งหมดที่ยังอยู่รอด นำไปปล่อยที่บ่อปลาในพื้นที่ อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นบ่อขนาดใหญ่พื้นที่เอกชน ขนาดกว้างประมาณเกือบ 100 ไร่ และลึกประมาณ 30 เมตร ซึ่งจะช่วยให้ปลาทั้งหมดรอดชีวิต และดีกว่าจะปล่อยให้ตายไปเรื่อยๆ หากต้องรอให้ผ่านพ้นวิกฤติภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยประสานรถลำเลียงจากหลายหน่วยงาน



ขณะที่ทางด้าน พระครูสมุห์ บุญเลิศ ชยวังโสรองเจ้าอาวาสวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยนในทุกวันนี้ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของปลาในบ่อที่ทางวัดเปิดให้คณะศรัทธาและนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนได้ร่วมทำบุญ ปล่อยปลา ซึ่งก่อนหน้านี้บ่อปลาแห่งนี้เคยมีน้ำเต็มบ่อ แต่ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมาน้ำได้ลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากฝนที่ตกลงมาไม่มาก ประกอบกับไม่มีที่จะมาเติมบ่อ จนกระทั่งแห้งขอดอย่างที่เห็นอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้ปลาที่อยู่ในบ่อได้รับผลกระทบ โดยทางวัดได้เร่งดำเนินการแก้ไขซึ่งขณะนี้มีหลายๆ หน่วยงานได้ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามในวันนี้จะต้องทำการย้ายปลาโดยด่วนโดยทางวัดได้ตกลงแล้วว่าจะนำปลาที่รอดอยู่ทั้งหมดย้ายไปที่ บ้านดงลาน ต.ทุ่งสะโตก อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่


ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าวเชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน









12 พ.ค. 2559

ปลาในคูน้ำศาลข่วงสิงห์ไกล้ตายหลังน้ำแห้งชาวบ้านร่วมใจช่วย



พลังทุกภาคส่วนระดมรถน้ำเข้าช่วยเหลือปลาในสระของอนุสาวรีย์ข่วงสิงห์ชัยมงคลสำคัญของเมืองเชียงใหม่  หลังเมื่อวานนี้ชาวบ้านช่วยเหลือปลาที่กำลังจะตาย ล่าสุดวันนี้รถน้ำและทุกภาคส่วนช่วยกันขุดลอกสระน้ำเติมน้ำเพื่อคืนปลาที่ชาวบ้านมาทำบุญคืนกลับอีกครั้ง

หลังจากเมื่อวานนี้ชาวบ้านย่านอนุสาวรีย์ ข่วงสิงห์ ใกล้สี่แยกข่วงสิงห์ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ ได้ระดมกันเข้าไปช่วยเหลือปลาในสระน้ำโดยรอบอนุสาวรีย์ ข่วงสิงห์ที่กำลังแห้งขอดปลาที่ถูกปล่อยจากการทำบุญหลายร้อยตัวกำลังดิ้นรนหนีตายไปอยู่ในจุดที่น้ำหลงเหลือ ได้นำออกไปยังจุดที่มีน้ำเพื่อช่วยเหลือไม่ให้แห้งตาย ล่าสุดวันนี้เจ้าหน้าที่จากทุกภาคส่วน ทั้งปภ.เชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ เจ้าหน้าที่ทหารนำรถแบคโฮ เข้ามาขุดลอกสระน้ำที่ตื้นเขิน เตรียมนำพลาสติกสีดำลงไปคลุมพื้นดินเพื่อไม่ให้น้ำได้ซึมลงพื้นดินไปเพราะความแห้งแล้ง จะทำให้น้ำคงอยู่ได้นานขึ้นทำให้ปลามีน้ำไปตลอดพ้นวิกฤตแล้งนี้ ก่อนจะระดมรถบรรทุกน้ำจากทุกส่วนช่วยกันขนนำน้ำดิบเพื่อมาเทลงไป เพื่อช่วยเหลือปลาที่ยังมีชีวิตอยู่กว่า 300 -400 ตัว ขนาดใหญ่เกือบ 20กิโลกรัม ซึ่งพบปลาบางส่วนที่แห้งตายไปบ้างแล้ว โดยปลาส่วนใหญ่มาจาการทำบุญปล่อยลงสระน้ำแห่งนี้ เพื่อเป็นการทำบุญช่วยชีวิตปลาบุญให้รอดตายในครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นปลาสวาย ปลานิล ปลาดุก ปลาหมอและเต่า

   



สำหรับอนุสาวรีย์ ข่วงสิงห์ ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อจูลศักราช 1163 พ.ศ. 2344 ในสมัยเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์แรก (พ.ศ.2325-2356) ตรงกับยุคกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้ากาวิละได้โปรดให้สร้างสิงห์ปูนปั้นสีขาวยืนขึ้นไว้คู่หนึ่ง ตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ อีกตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ณ ที่อันเป็นบริเวณโล่งเตียนกว้างขวางอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว จึงทำพิธีอันเชิญเทพยดาอารักษ์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาสิงสถิตย์ อยู่ ณ ที่นี้ คราใดเมื่อจะยกทัพไปต่อสู้กับข้าศึกที่มารุกราน หรือเพื่อแผ่อานุภาพออกไป ก็ได้ยกทัพมาหยุด ณ สถานที่แห่งนี้ เพื่อกระทำอันเป็นมงคลต่างๆ แก่กองทัพเป็นประจำ ซึ่งต่อมาสถานที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่า “ข่วงสิงห์ชัยมงคล” และต่อมาได้เรียกชื่อให้สั้นลง ว่า “ข่วงสิงห์” และในสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 7 (พ.ศ.2416-2439) ได้โปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้บริเวณใกล้กันหนึ่งวัด คือ “วัดข่วงสิงห์ชัยมงคล” หรือวัดข่วงสิงห์ในปัจจุบัน

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน











2 พ.ค. 2559

สนช. จับมือ สอว.เครือข่ายพันธมิตร เปิด NTFV’s Innovation Campaign นำร่องภาคเหนือ



กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สนช. และสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ และสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ เปิดตัวโครงการ “NTFV’s Innovation Campaign (Northern Thailand Food Valley’s Innovation Campaign)” เพื่อเร่งส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมในระดับภูมิภาคให้กับผู้ประกอบการด้านอาหารของไทย

รศ.ดร.วีระพงษ์ แพสุวรรณ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า “กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ มีกลไกขับเคลื่อนงานด้าน วทน. สู่จังหวัด ชุมชน ท้องถิ่น อยู่หลายภาคส่วน หนึ่งในนั้นมีกลไกของ สอว. ที่มีภารกิจหลักในการสนับสนุนอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการวิจัยเพื่อกระตุ้นการทำวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชน รวมถึงการสร้างผู้ประกอบการฐาน วทน. การพัฒนาศักยภาพทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ และการผลักดันงานวิจัยออกสู่เชิงพาณิชย์ โดยจะใช้ศักยภาพของมหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็นฐานในการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยมีมหาวิทยาลัยที่เป็นแกนหลักดำเนินการพัฒนาและดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อให้มีเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 13 มหาวิทยาลัย กระจายอยู่ในทุกภูมิภาค โดยเฉพาะในภาคเหนือมีถึง 7 มหาวิทยาลัยที่ป็นเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค”



จากความพร้อมของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับงานด้านการวิจัยและพัฒนา มีกลไกร่วมรับความเสี่ยงในการนำ วทน. ไปใช้ประโยชน์ และศักยภาพของภาคเอกชนในพื้นที่ที่มีความเข้มแข็ง จึงมีแนวทางในการยกระดับความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ภาคเหนือด้วย วทน. ในระยะแรกคือ การกระตุ้นการพัฒนานวัตกรรม ด้วยมาตรการสนับสนุนเงินอุดหนุนในโครงการ NTFV’s Innovation Campaign สำหรับการพัฒนานวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง วงเงินสูงสุดไม่เกิน 800,000 บาท ต่อโครงการ โดยเอกชนจะต้องลงทุนร่วมด้วยอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าโครงการรวม ผู้เสนอโครงการจะต้องสมัครเป็นสมาชิกของ Northern Thailand Food Valley  ทั้งนี้ การพิจารณาโครงจะใช้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนทั้งจาก สอว. สนช. สภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ หอการค้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือ และนักวิชาการ โดยโจทย์สำคัญมุ่งเน้นการเพิ่มมูลค่าด้วยนวัตกรรม ที่อาจจะอยู่ในกรอบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (อาหารฟังก์ชั่น อาหารทางการแพทย์ อาหารอินทรีย์ อาหารที่ผลิตขึ้นใหม่ทางนวัตกรรม) หรือการพัฒนากระบวนการและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง  โดยตั้งเป้าหมายจะสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs อุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ภาคเหนืออย่างน้อย 200 ราย ให้มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นด้วย วทน. เกิดการขับเคลื่อนระบบพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษนวัตกรรมอาหารสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มในระบบเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมอาหารในพื้นที่ภาคเหนือมากกว่าร้อยละ 20 ประมาณการมูลค่าเพิ่มกว่า 4,600 ล้านบาท พร้อมทั้งเป็นการเตรียมพร้อมผู้ประกอบการ SMEs ภาคเหนือรองรับการขยายของ Food Innopolis ที่อาจมีการขยายผลการขับเคลื่อนไปยังภูมิภาคอื่นๆ ในอนาคตต่อไป



ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ สนช. กล่าวว่า “โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหาร (Food Innovation Zone; FIZ) เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา “Northern Thailand Food Valley” ด้วยวิสัยทัศน์ที่ต้องการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมอาหารในพื้นที่ที่มีความหนาแน่นและมีศักยภาพของผู้ประกอบการด้านอาหารในรูปแบบเครือข่ายวิสาหกิจนวัตกรรม เพื่อยกระดับและสร้างให้เกิดความแตกต่างรวมทั้งการสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการตลอดห่วงโซ่การผลิต ตลอดจนการจัดการด้านอาหารปลอดภัย และระบบธุรกิจอัจฉริยะ ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ อันจะเป็นการสนับสนุนให้อุตสาหกรรมอาหารสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย 3 ด้าน คือ สร้างระบบนิเวศนวัตกรรม ด้วยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรม และแรงงานระหว่างกันในพื้นที่เป้าหมาย พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสนับสนุนการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เช่น การจัดการอาหารปลอดภัย โลจิสติกส์ ระบบสารสนเทศ การวิจัยทางการตลาด การสร้างตราสินค้า และการสร้างโอกาสทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการในพื้นที่เป้าหมายรวมทั้งกระบวนการผลิตใหม่ๆ ที่จะส่งผลต่อการสร้างนวัตกรรมอันจะนำไปสู่การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงแนวทางในการพัฒนาธุรกิจ 4 ด้าน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารรูปแบบใหม่ ได้แก่ อาหารฟังก์ชัน/อาหารทางการแพทย์/อาหารอินทรีย์ ระบบการจัดการด้านอาหารปลอดภัย รูปแบบการจัดการธุรกิจอัจฉริยะ และเครื่องจักรและกระบวนการผลิตอัตโนมัติ” 



“ระยะแรก สนช. ได้ดำเนินโครงการนำร่องในเขตพื้นที่จังหวัดภาคเหนือตอนบน เนื่องจากพบว่ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือมีศักยภาพและความหนาแน่นของผู้ประกอบการด้านอาหารสูง โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง มีสถานประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 2,260 สถานประกอบการ มีปริมาณผลผลิตทางการเกษตรประมาณ 500 ล้านตันต่อปี และมีหน่วยงานที่สนับสนุนการสร้างความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 150 หน่วยงาน ดังนั้น สนช. จึงร่วมกับ สอว. โดยอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ กำหนดมาตรการการสนับสนุนและกิจกรรมการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการอาหารในพื้นที่ ได้แก่ NTFV’s Innovation Campaign (มาตรการการสนับสนุเงินอุดหนุนเพื่อกระตุ้นการพัฒนานนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของพื้นที่ภาคเหนือ) Innovation Diffusion (มาตรการสนับสนุนเงินอุดหนุนเพื่อให้เกิดการเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมสู่ระดับชุมชน วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์การเกษตร) และการจัดทำ Demand-side survey (มาตรการการสนับสนุนการสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้ประกอบการ นอกเหนือจากมาตรการทางการเงิน) โดยมุ่งหวังว่าจะก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงมากให้แก่ท้องถิ่น และพัฒนาให้พื้นที่ภาคเหนือเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมอุตสาหกรรมอาหารของอาเซียนต่อไป” ดร. พันธุ์อาจ กล่าวเพิ่มเติม

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน