<<<<<..... ลักษณะอากาศทั่วไป วันนี้ ( 01 เมษายน 2567 ) เวลา 06.00 น. วันนี้ถึง 06.00 น.ของวันพรุ่งนี้ ภาคเหนือ....อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. กมล เครือนิล ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่ อัปเดตนิวส์ รายงาน. แหล่งที่มาของข้อมูล : กรมอุตุนิยมวิทยา - https://www.tmd.go.th/thailand.php .....................................................>>>>

9 เม.ย. 2559

นายกไก่ ยืนยัน น้ำคูเมืองใช้เล่นสงกรานต์ได้อย่างปลอดภัย


เทศบาลฯ ยืนยันน้ำคูเมืองมีคุณภาพดี ใช้เล่นสงกรานต์ได้แน่นอน พร้อมขอความร่วมมือประชาชนปีนี้เล่นน้ำกันอย่างประหยัด หวั่นกระทบภัยแล้ง รวมทั้งร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง และเป็นตัวอย่างที่ดีในการเล่นน้ำแบบอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณี เน้นรอบคูเมืองปลอดเหล้า

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 8 เม.ย.59 ที่บริเวณคูเมืองแจ่งศรีภูม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ พร้อมคณะเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันทำการลงตรวจคุณภาพน้ำในคูเมือง เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ที่ใกล้จะถึงนี้ โดยในการนี้ได้ทำการฉีดน้ำผสมสารคลอรีน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำรอยคูเมือง และจุดสำคัญที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาเล่นน้ำกันเป็นประจำทุกปี 
โดยทาง นายทัศนัย บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ กล่าวว่า ความสะอาดของน้ำที่ใด้จากการตรวจคุณภาพน้ำในวันนี้ทางตนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันได้ว่าน้ำที่อยู่ในคูเมืองนั้นสามารถเล่นได้ตามปกติ และมีเพียงพอให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้เล่นในช่วงเทศกาลสงกรานต์นี้อย่างแน่นอน
ในส่วนการรณรงค์เล่นน้ำในช่วงเทศกาลปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่ ปีนี้โดยเฉพาะพื้นที่เขตคูเมืองซึ่งถือเป็นเขตที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางมาร่วมเล่นน้ำกันเป็นจำนวนมากทุกปีอยู่แล้ว ทางเทศบาลฯ จึงได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อดูแลความเรียบร้อย โดยในส่วนของผู้ที่ขอขายของริมทางหรือบริเวณรอบคูเมืองนั้น ทางเทศบาลฯ ก็เปิดให้ขายได้ แต่ที่ห้ามโดยเด็ดขาดคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือของมึนเมา และปีนี้ได้มีมาตรการเพิ่มเติมขึ้นมาคือห้ามขายถังน้ำที่มีขนาดเกิน 10 ลิตรขึ้นไป เพื่อเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำและทำให้เกิดการเล่นน้ำที่ไม่รุนแรง ขณะเดียวกันก็ได้มีการจัดงานที่บริเวณข่วงอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ที่ได้มีการจัดตลาดย้อนยุคขึ้นมา ซึ่งอยากเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนร่วมกันแต่งชุดพื้นเมืองไปเล่นน้ำแบบโบราณกันตามโครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่จะแข่งขันกับทางจังหวัดขอนแก่น และขอให้พี่น้องประชาชนชาวเชียงใหม่เป็นเจ้าบ้าน เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาร่วมสนุกในประเพณีสงกรานต์ เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมและสร้างความเข้าใจในการละเล่นน้ำในประเพณีส่งกรานต์ที่เหมาะสมต่อไป

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน






8 เม.ย. 2559

พ่อเมืองเชียงใหม่ เปิดกิจกรรม ฟื้นชัยมงคลเมืองเชียงใหม่คืนความใสให้น้ำแม่ข่า


"ที่นี่....เชียงใหม่" พ่อเมืองเชียงใหม่ ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “ ฟื้นชัยมงคลเมืองเชียงใหม่คืนความใสให้น้ำแม่ข่า” โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองแม่ข่า เพื่อร่วมฉลองสมโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปี

วันที่ 8 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 09.00 น.  ณ วัดชัยศรีภูมิ์ และบริเวณท่าน้ำแม่ข่า (ช่วงแจ่งศรีภูมิ์ – ถนนรัตนโกสินทร์) ต.ช้างม่อย อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมกิจกรรม  “ ฟื้นชัยมงคลเมืองเชียงใหม่คืนความใสให้น้ำแม่ข่า“อีกหนึ่งในโครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองแม่ข่า เพื่อร่วมฉลองสมโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปี
ทั้งนี้จังหวัดเชียงใหม่ รวมพลังหน่วยงานทุกภาคส่วนเพื่อขับเคลื่อนให้มีการแก้ไขฟื้นฟูคุณภาพน้ำแม่ข่า การปรับปรุงภูมิทัศน์และระบบนิเวศน์ธรรมชาติของน้ำแม่ข่า ตลอดจนฟื้นฟูวิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรมที่งดงามของประชาชนเชียงใหม่กับสายน้ำแม่ข่าให้กลับคืนมาอย่างเดิมในอดีต โดยถือเป็นกิจกรรมสำคัญเพื่อร่วมฉลองสมโภชเมืองเชียงใหม่ 720 ปี เน้นการปฏิบัติการที่มีส่วนร่วมของภาคประชาชนและหน่วยงานทุกภาคส่วน โดยถือเอาฤกษ์วันศุกร์ที่ 8 เมษายน 2559 เป็นปฐมฤกษ์ลั่นฆ้องชัย รวมทั้งอัญเชิญเครื่อง “ไหว้สาน้ำแม่ข่า ไชยมงคลแห่งเมืองเชียงใหม่” และจัดเวทีระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ณ วัดชัยศรีภูมิ์ และบริเวณสองฝั่งริมน้ำแม่ข่าช่วงแจ่งศรีภูมิ์ถึงถนนรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้เพื่อให้เป็นสิริมงคลสำหรับการเริ่มต้นดำเนินกิจกรรมปฏิบัติการฟื้นฟูสภาพน้ำแม่ข่าให้เป็นไปอย่างจริงจัง ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน



ซึ่งกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วยพิธีจุดเทียนชัยและลั่นฆ้องชัย ณ วัดชัยศรีภูมิ์ การแสดงสัมโมทนียกถาโดยเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ และคณะผู้ร่วมงานได้เดินเยี่ยมชมพื้นที่ริมคลองแม่ข่าช่วงท่าน้ำแม่ข่าหน้าวัดชัยศรีภูมิ์เพื่อตรวจดูสภาพแวดล้อม ต่อด้วยพิธีอัญเชิญเครื่องไหว้สาน้ำแม่ข่า ทำพิธีเปิดสวิทช์ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าสู่กังหัน กังหันน้ำชัยพัฒนา ที่ได้รับการสนับสนุนจาก โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1  จัดหามา ชมนิทรรศการแสดงแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานและองค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชนที่มีจิตอาสาจะเข้ามาช่วยดำเนินกิจกรรมฟื้นฟูคลองแม่ข่าตลอดทั้งปี ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงเดือนธันวาคม 2559 นี้



กิจกรรมครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากจังหวัดเชียงใหม่ และเป็นการจัดร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน รวมทั้งสถาบันการศึกษา อาทิ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โครงการชลประทานจังหวัดเชียงใหม่ สำนักชลประทานที่ 1 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอำเภอแม่ริม อำเภอเมือง และอำเภอหางดง ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มพลเมืองจิตอาสารักษ์แม่ข่า วัดชัยศรีภูมิ์ ชุมชนริมคลองแม่ข่า มูลนิธิและสโมสรต่างๆ เป็นต้น


ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน








เชียงใหม่ จัดกิจกรรมรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง


จังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เพื่อรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ภายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 7 เมษายน 2559 เวลา 15.30 น. ณ บริเวณถนนด้านหน้าอาคารอำนวยการ ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ นายปวิณ ชำนิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดกิจกรรมรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัดและการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จังหวัดเชียงใหม่ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการประเมินสถานการณ์น้ำและแก้ไขปัญหาภัยแล้งจังหวัดเชียงใหม่พ.ศ. 2559 และมีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ภัยแล้ง จังหวัดเชียงใหม่ปี 2559 เพื่อเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 ถึงพฤษภาคม 2559


ผู้ว่าราชการเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำต้นทุนของจังหวัดเชียงใหม่จากเขื่อนขนาดใหญ่สองแห่งได้แก่เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลมีปริมาณน้ำ 45.399 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 17.13% ของความจุเขื่อน และ เขื่อนแม่กวงอุดมธารามีปริมาณน้ำ 26.918 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 10.23 % ของความจุเขื่อน รวมมีปริมาณน้ำทั้งสองเขื่อน 72.317 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 13.70% และปริมาณน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 12 แห่งมีปริมาณน้ำที่สามารถใช้การได้ 14.671 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 16.93% ในส่วนของพื้นที่ที่อยู่นอกระบบชลประทาน จะให้ทางนายอำเภอแต่ละอำเภอสำรวจแหล่งน้ำสำรอง เพื่อจัดระบบในการให้ความช่วยเหลือโครงการป้องกันยับยั้งและการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง)ขึ้นในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2558 เป็นต้นมา(อำเภอดอยเต่าเป็นอำเภอแรก) การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน(ภัยแล้ง)จังหวัดเชียงใหม่ทั้งสิ้น 13 อำเภอ 314 หมู่บ้าน 38 ตำบลราษฎรได้รับผลกระทบ 40,676 ครัวเรือน 117,053 คน พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหาย 44,662 ไร่ ปศุสัตว์ 2,190 ตัวประมง 72 กระชังบ่อน้ำ 15 บ่อ เหมือง/ฝาย 4 แห่ง ดังนี้ อำเภอดอยเต่า อำเภอสันกำแพง อำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอจอมทอง อำเภอฮอด อำเภอพร้าว อำเภอดอยหล่อ อำเภอฝาง อำเภอเชียงดาว อำเภอไชยปราการ อำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอกัลยาณิวัฒนาในด้านการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 จังหวัดเชียงใหม่ได้จัดสรรวงเงินทดรองราชการให้อำเภอละ 500,000 บาท ตามระเบียบ กค. ว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ พ.ศ.2556 จำนวน 10,629,034.75 บาท และช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยแล้งด้านพืชจำนวน 1,267,985.25 บาทและขณะนี้มีวงเงินคงเหลือ 38,102,980 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการป้องกันยับยั้ง และลดผลกระทบจากกรณีภัยแล้งจำนวน 5,069,320 บาทและขณะนี้วงเงินคงเหลือ 4,532,480 บาท กรม ปภ.สนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่ายน้ำอุปโภค-บริโภค อ.แม่ออน จำนวน 21 เที่ยวๆละ 6,000 ลิตร รวมเป็น 126,000 ลิตร (ข้อมูล ณ วันที่ 6 เม.ย. 59) กรม ปภ. สนับสนุนรถยนต์บรรทุกน้ำแจกจ่ายราษฎรที่ประสบภัยแล้งในพื้นที่ อ.กัลยานิวัฒนา รถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร รวมเป็น  90,000 ลิตร การเจาะบ่อบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2559 จำนวน 30 บ่อ ได้แก่ สันป่าตองจำนวน 11 บ่อ ดอยหล่อจำนวน 9 บ่อ ดอยสะเก็ดจำนวน 8 บ่อ พร้าวและแม่วาง อำเภอละ 1 บ่อ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่กระสอบทรายจำนวน 15,500 ใบ ได้แก่ เชียงดาว จำนวน 7,500 ใบ สะเมิง เวียงแหง อำเภอละ 2,000 ใบ ดอยสะเก็ด ดอยเต่า ฮอดและพร้าว อำเภอละ 1,000 ใบ 

ทีมข่าว "ที่นี่....เชียงใหม่" สำนักข่าว เชียงใหม่อัปเดตนิวส์ รายงาน