ค่าบริการโทรศัพท์มือถือควรถูกลง ! มัลลิกา ชู แก้กติกา-กฎหมาย
ให้ค่าบริการทุกค่ายถูกลง เพราะกฎหมายเดิมใช้ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นตั้งแต่มีคนใช้น้อย
ค่าบริการโทรศัพท์มือถือควรถูกลง ! มัลลิกา ชู แก้กติกา-กฎหมายให้ค่าบริการทุกค่ายถูกลง เพราะกฎหมายเดิมใช้ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นตั้งแต่มีคนใช้น้อย
พร้อมซัด ควบรวม! ทรู-ดีแทค เจตนามองข้ามกติกาแข่งขัน-ไม่คุ้มครองผู้บริโภค ฝาก กสทช ให้ “คิด คิด คิด”
19 ตุลาคม 2565
เวลา 9.00 น. ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจากกรณีการจะควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น และ DTAC ตามที่มีการประกาศควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมและทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการหรือไม่ในวันพรุ่งนี้ ( 20 ตุลาคม 2565) เรื่องนี้สังคมควรต้องจับตามองเพราะเป็นประโยชน์สาธารณะและหากมีการควบรวมได้ก็อาจส่งผลให้เกิดทั้งกระแสคัดค้านและความกังวลใจด้านผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและการมีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจที่ประชาชนผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อหรือไม่ ซึ่งปัญหาจะตามมาทั้งในส่วนของค่าบริการที่จะเป็นธรรมหรือไม่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีและทางเลือกของประชาชนที่จะลดหายไป
อย่างไรก็ตามหากปล่อยให้ควบรวมได้เท่ากับประโยชน์สูงสุดของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้นไม่ถูกยึดถือเรื่องนี้เป็นการละเว้นที่จะไม่คำนึงถึง นอกจากนั้นยังมีปัญหาทางด้านธรรมาภิบาล ความสามารถทางการแข่งขัน และขัดต่อระเบียบกติกาด้านการผูกขาดอำนาจเหนือตลาด โดยทั้งหมดนี้จะส่งผลทั้งในอนาคตอันใกล้และไกลต่อการพัฒนา ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยผลกระทบที่หนักสุดจะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคตนั่นคือเด็กเยาวชนของเราที่เขาจะเติบโตมาและจะเป็นผู้ที่มาใช้เทคโนโลยีเเหล่านี้ที่ซึ่งผู้ใหญ่ปัจจุบันก่อการผูกขาดไว้ให้เขา
“ ไม่สมควรทำ ไม่ควรละเลยในเรื่องของกติกาและกฎหมายสูงสุดโดยเฉพาะเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งก็คือประชาชนโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่กำหนดเรื่องประโยชน์สูงสุดของประชาชนแต่เจตนาของการควบรวมชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นเจตนาแห่งธุรกิจของผู้ประกอบการไม่สามารถอธิบายในเรื่องของทางเลือกของประชาชนอยู่ตรงไหน จึงขอฝากไว้ให้ กสทช. คิด คิด คิด ด้วย " ส.ส.ดร.มัลลิกา กล่าว
นอกจากนี้ยังขอให้ กสทช. ขยับใหญ่ทำหน้าที่ของตนเองโดยการนำผลการศึกษาจากทุกคณะมาเปิดเผยให้หมดเพื่อหาความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคและประชาชน สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องแก้ไขกฎหมายและกติกาที่ใช้มาตั้งแต่ประชาชนมีมือถือทั้งประเทศแค่ 5-6 ล้านเครื่อง แต่ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้จำนวนมือถือโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนทวีคูณจำนวนคนไปมากแล้ว
" จึงขอให้เร่งพิจารณาปรับค่าบริการลดลงให้มากที่สุดมุกค่ายทุกโครงข่ายเครือข่าย สิ่งที่น่าเสียดายคือเมื่อมีวิกฤตโดยเฉพาะโควิด-19 จะเห็นว่าผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากที่สุดเพราะนโยบายเวิร์คฟอร์มโฮม โดยค่าบริการไม่ได้ลดลงเลยและในช่วงวิกฤติน้ำท่วมผู้ให้บริการก็ไม่ได้ช่วยดูแลผู้บริโภคในภาวะนี้ ในส่วนนี้ทั้งหมดนี้จึงเป็นหน้าที่ของ กสทช. มีหน้าที่ต้องทำงานไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนถูกเอาเปรียบ
ดร.มัลลิกา ระบุว่า ผลการสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ประมาณ 65.4 ล้านคน พบว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 56.7 ล้านคน คิดเป็น 86.6% ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.3 ล้านคน คิดเป็น 95.2% และผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.5 ล้านคน คิดเป็น 87.9% แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน 94.1% และโทรศัพท์มือถือระดับกลาง (Feature phone) 6% และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายคนต้อง Work frome Home ส่วนนักเรียนนักศึกษาก็ต้องปรับการเรียนการสอนเข้าสู่การเรียนในโลกออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้ปริมาณคอมพิวเตอร์ประจำครัวเรือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งจำนวนสมาร์ตโฟนก็มากตามไปด้วย คอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารจำเป็น ที่ในยุคนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ทุกคนจำเป็นต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ในการเรียนรวมถึงทำงานเป็นภาคบังคับไปแล้ว แต่ผู้คุมกฏ คือ กสทช.กลับ ไม่ขยับด้านกติกาและกฎหมายที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและถูกลง
………………
ค่าบริการโทรศัพท์มือถือควรถูกลง ! มัลลิกา ชู แก้กติกา-กฎหมายให้ค่าบริการทุกค่ายถูกลง เพราะกฎหมายเดิมใช้ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นตั้งแต่มีคนใช้น้อย
พร้อมซัด ควบรวม! ทรู-ดีแทค เจตนามองข้ามกติกาแข่งขัน-ไม่คุ้มครองผู้บริโภค ฝาก กสทช ให้ “คิด คิด คิด”
19 ตุลาคม 2565
เวลา 9.00 น. ดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่าจากกรณีการจะควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น และ DTAC ตามที่มีการประกาศควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมและทางคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการหรือไม่ในวันพรุ่งนี้ ( 20 ตุลาคม 2565) เรื่องนี้สังคมควรต้องจับตามองเพราะเป็นประโยชน์สาธารณะและหากมีการควบรวมได้ก็อาจส่งผลให้เกิดทั้งกระแสคัดค้านและความกังวลใจด้านผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและการมีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจที่ประชาชนผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อหรือไม่ ซึ่งปัญหาจะตามมาทั้งในส่วนของค่าบริการที่จะเป็นธรรมหรือไม่ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีและทางเลือกของประชาชนที่จะลดหายไป
อย่างไรก็ตามหากปล่อยให้ควบรวมได้เท่ากับประโยชน์สูงสุดของประชาชนตามรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้นไม่ถูกยึดถือเรื่องนี้เป็นการละเว้นที่จะไม่คำนึงถึง นอกจากนั้นยังมีปัญหาทางด้านธรรมาภิบาล ความสามารถทางการแข่งขัน และขัดต่อระเบียบกติกาด้านการผูกขาดอำนาจเหนือตลาด โดยทั้งหมดนี้จะส่งผลทั้งในอนาคตอันใกล้และไกลต่อการพัฒนา ทั้งระบบเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา โดยผลกระทบที่หนักสุดจะกลายเป็นภาระของผู้บริโภคในอนาคตนั่นคือเด็กเยาวชนของเราที่เขาจะเติบโตมาและจะเป็นผู้ที่มาใช้เทคโนโลยีเเหล่านี้ที่ซึ่งผู้ใหญ่ปัจจุบันก่อการผูกขาดไว้ให้เขา
“ ไม่สมควรทำ ไม่ควรละเลยในเรื่องของกติกาและกฎหมายสูงสุดโดยเฉพาะเจตนารมณ์ในการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งก็คือประชาชนโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญที่กำหนดเรื่องประโยชน์สูงสุดของประชาชนแต่เจตนาของการควบรวมชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นเจตนาแห่งธุรกิจของผู้ประกอบการไม่สามารถอธิบายในเรื่องของทางเลือกของประชาชนอยู่ตรงไหน จึงขอฝากไว้ให้ กสทช. คิด คิด คิด ด้วย " ส.ส.ดร.มัลลิกา กล่าว
นอกจากนี้ยังขอให้ กสทช. ขยับใหญ่ทำหน้าที่ของตนเองโดยการนำผลการศึกษาจากทุกคณะมาเปิดเผยให้หมดเพื่อหาความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคและประชาชน สิ่งที่สำคัญที่สุดต้องแก้ไขกฎหมายและกติกาที่ใช้มาตั้งแต่ประชาชนมีมือถือทั้งประเทศแค่ 5-6 ล้านเครื่อง แต่ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้จำนวนมือถือโดยเฉพาะสมาร์ทโฟนทวีคูณจำนวนคนไปมากแล้ว
" จึงขอให้เร่งพิจารณาปรับค่าบริการลดลงให้มากที่สุดมุกค่ายทุกโครงข่ายเครือข่าย สิ่งที่น่าเสียดายคือเมื่อมีวิกฤตโดยเฉพาะโควิด-19 จะเห็นว่าผู้ประกอบการได้รับประโยชน์มากที่สุดเพราะนโยบายเวิร์คฟอร์มโฮม โดยค่าบริการไม่ได้ลดลงเลยและในช่วงวิกฤติน้ำท่วมผู้ให้บริการก็ไม่ได้ช่วยดูแลผู้บริโภคในภาวะนี้ ในส่วนนี้ทั้งหมดนี้จึงเป็นหน้าที่ของ กสทช. มีหน้าที่ต้องทำงานไม่ใช่ปล่อยให้ประชาชนถูกเอาเปรียบ
ดร.มัลลิกา ระบุว่า ผลการสำรวจประชาชนอายุ 6 ปีขึ้นไป ประมาณ 65.4 ล้านคน พบว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 56.7 ล้านคน คิดเป็น 86.6% ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ 62.3 ล้านคน คิดเป็น 95.2% และผู้มีโทรศัพท์มือถือ 57.5 ล้านคน คิดเป็น 87.9% แบ่งเป็นโทรศัพท์มือถือสมาร์ตโฟน 94.1% และโทรศัพท์มือถือระดับกลาง (Feature phone) 6% และส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้หลายคนต้อง Work frome Home ส่วนนักเรียนนักศึกษาก็ต้องปรับการเรียนการสอนเข้าสู่การเรียนในโลกออนไลน์มากขึ้น จึงทำให้ปริมาณคอมพิวเตอร์ประจำครัวเรือนเพิ่มขึ้น อีกทั้งจำนวนสมาร์ตโฟนก็มากตามไปด้วย คอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนจึงกลายมาเป็นเครื่องมือสื่อสารจำเป็น ที่ในยุคนี้ไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ทุกคนจำเป็นต้องมีเครื่องมือเหล่านี้ในการเรียนรวมถึงทำงานเป็นภาคบังคับไปแล้ว แต่ผู้คุมกฏ คือ กสทช.กลับ ไม่ขยับด้านกติกาและกฎหมายที่จะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดีและถูกลง
………………
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น